นับเป็นครั้งแรกหลังเกิดเหตุวุ่นวายในรัฐสภา ที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ออกมาแสดงความพร้อมให้ทุกองค์กร เข้ามาตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือตั้งกระทู้ถามในสภาผู้แทนราษฎร กรณีข้อกล่าวหาเมาสุราได้ เนื่องจากจะได้ชี้แจงรายละเอียดทั้งหมด ต่อสาธารณชนอีกครั้ง โดยเฉพาะท่าทีที่หลายฝ่ายระบุว่า ไม่เหมาะสม จนกลายเป็นข้อกล่าวหาว่า เมาสุรา ระหว่างร่วมประชุมรัฐสภานั้น เกิดจากอารการข้างเคียงของโรคก้านหูอักเสบ ที่จะเกิดภาวะอาการเกร็งในกรณีที่พักผ่อนน้อย
ขณะที่นายสงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า เรียกร้องรัฐสภาออกระเบียบและบทลงโทษ เกี่ยวกับผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในรัฐสภา เพราะถือเป็นการทำผิดกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปี 2551 มาตรา 37 โดยเห็นด้วยกับมาตรการตรวจปริมาณแอลกอฮอล์ก่อนเข้าห้องประชุม และควรกำหนดโทษสูงกว่าผู้ที่เมาแล้วขับ เพราะการเข้ามาทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ พิจารณากฎหมาย ย่อมส่งผลกระทบต่อประชาชน
ก่อนหน้านี้ ผู้ตรวจการแผ่นดิน แสดงความพร้อมรับเรื่องร้องเรียนพฤติกรรมไม่เหมาะสม เพื่อตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง เพราะตามขั้นตอนหากพบว่ากระทำผิดจริง สามารถส่งเรื่องให้วุฒิสภา พิจารณาถอดถอนออกจากตำแหน่งได้
สำหรับเหตุการณ์กล่าวหากันในห้องประชุมรัฐสภา เกิดขึ้นเมื่อกลางดึกวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555 ระหว่างที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน อภิปรายปิดการพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดย ร.ต.อ.เฉลิม ลุกขึ้นประท้วงว่า อภิปรายนอกประเด็น ขณะที่ น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ ประท้วงกลับ และเรียกร้องให้ประธานรัฐสภาตรวจแอลกอฮอล์ วานนี้ ร.ต.อ.เฉลิม มอบหมายทนายความเข้าแจ้งความดำเนินคดีหมิ่นประมาทสื่อมวลชน 4 ฉบับ ประกอบด้วย หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ไทยโพสต์ สยามรัฐ และแนวหน้า แต่ไม่ฟ้อง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ โดยให้เหตุผลว่า มีเอกสิทธิ์คุ้มครองในการอภิปรายในรัฐสภา
ขณะที่นายสงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้อำนวยการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า เรียกร้องรัฐสภาออกระเบียบและบทลงโทษ เกี่ยวกับผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในรัฐสภา เพราะถือเป็นการทำผิดกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปี 2551 มาตรา 37 โดยเห็นด้วยกับมาตรการตรวจปริมาณแอลกอฮอล์ก่อนเข้าห้องประชุม และควรกำหนดโทษสูงกว่าผู้ที่เมาแล้วขับ เพราะการเข้ามาทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ พิจารณากฎหมาย ย่อมส่งผลกระทบต่อประชาชน
ก่อนหน้านี้ ผู้ตรวจการแผ่นดิน แสดงความพร้อมรับเรื่องร้องเรียนพฤติกรรมไม่เหมาะสม เพื่อตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง เพราะตามขั้นตอนหากพบว่ากระทำผิดจริง สามารถส่งเรื่องให้วุฒิสภา พิจารณาถอดถอนออกจากตำแหน่งได้
สำหรับเหตุการณ์กล่าวหากันในห้องประชุมรัฐสภา เกิดขึ้นเมื่อกลางดึกวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2555 ระหว่างที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน อภิปรายปิดการพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดย ร.ต.อ.เฉลิม ลุกขึ้นประท้วงว่า อภิปรายนอกประเด็น ขณะที่ น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ ประท้วงกลับ และเรียกร้องให้ประธานรัฐสภาตรวจแอลกอฮอล์ วานนี้ ร.ต.อ.เฉลิม มอบหมายทนายความเข้าแจ้งความดำเนินคดีหมิ่นประมาทสื่อมวลชน 4 ฉบับ ประกอบด้วย หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ไทยโพสต์ สยามรัฐ และแนวหน้า แต่ไม่ฟ้อง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ โดยให้เหตุผลว่า มีเอกสิทธิ์คุ้มครองในการอภิปรายในรัฐสภา