ดร.ภญ.อุษาวดี มาลีวงศ์ นักวิชาการอิสระ ศึกษาและประมวลการวิจัยด้านการคลังในระบบสาธารณสุข จากสำนักงานวิจัยต่างๆ กว่า 2 เดือน เปิดเผยว่า หากรัฐบาลกลับมาเรียกเก็บค่าบริการ 30 บาทจากผู้ป่วยระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง ยิ่งเป็นการซ้ำเติมคนป่วยทั้ง 48 ล้านคน ให้เดือดร้อนมากยิ่งขึ้น โดยเหตุผลที่รัฐบาลอ้างว่าต้องเก็บ 30 บาท เพราะโรงพยาบาลขาดทุน แต่จากการศึกษาพบว่า สาเหตุหลักที่ทำให้โรงพยาบาลขาดทุน เกิดจากการบริหารจัดการต้นทุนในส่วนค่าตอบแทนแพทย์และบุคลากรที่มีอัตราเพิ่มขึ้น ซึ่งการเรียกเก็บ 30 บาทจากผู้ป่วยจึงไม่ยุติธรรม เพราะแพทย์เหล่านี้ต้องให้บริการผู้ป่วยทุกระบบ
ส่วนการใช้บริการเกินความจำเป็น ซึ่งยกเป็นอีกหนึ่งเหตุผลของการกลับมาเรียกเก็บเงิน 30 บาทจากผู้ป่วยบัตรทอง นักวิชาการอิสระ ชี้แจงว่า สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอัตราการใช้บริการเพิ่มขึ้น เนื่องจากตั้งแต่ปี 2550 ที่มีการยกเลิกการจ่าย 30 บาท มีการขยายชุดสิทธิประโยชน์ในหลายกลุ่มโรค ทำให้ผู้ป่วยบัตรทองเข้าถึงบริการที่จำเป็น และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นไปอย่างสมเหตุสมผลเมื่อเทียบกับผู้ป่วยในระบบประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ
เครือข่ายคนรักหลักประกันสุขภาพ จึงเสนอให้รัฐบาลยกเลิกความคิดเรียกเก็บค่าบริการ 30 บาท และสร้างความเท่าเทียมให้กับ 3 กองทุนหลักประกันสุขภาพ
ส่วนการใช้บริการเกินความจำเป็น ซึ่งยกเป็นอีกหนึ่งเหตุผลของการกลับมาเรียกเก็บเงิน 30 บาทจากผู้ป่วยบัตรทอง นักวิชาการอิสระ ชี้แจงว่า สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอัตราการใช้บริการเพิ่มขึ้น เนื่องจากตั้งแต่ปี 2550 ที่มีการยกเลิกการจ่าย 30 บาท มีการขยายชุดสิทธิประโยชน์ในหลายกลุ่มโรค ทำให้ผู้ป่วยบัตรทองเข้าถึงบริการที่จำเป็น และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นไปอย่างสมเหตุสมผลเมื่อเทียบกับผู้ป่วยในระบบประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ
เครือข่ายคนรักหลักประกันสุขภาพ จึงเสนอให้รัฐบาลยกเลิกความคิดเรียกเก็บค่าบริการ 30 บาท และสร้างความเท่าเทียมให้กับ 3 กองทุนหลักประกันสุขภาพ