การติดตามแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกรรมการ กยน.เริ่มที่เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ โดยมีประชาชนให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น จากนั้นได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อฟื้นฟูป่าต้นน้ำ และป่าเสื่อมโทรมซึ่งมีถึง 10 ล้านไร่
โดยนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา กรรมการ ชี้จุดปลูกป่าที่เป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม และทำฝายชุ่มชื้นให้ครอบคลุม 8 ลุ่มน้ำสำคัญภายในคืนนี้ เพื่อมอบนโยบายให้กับผู้ว่าราชการทุกจังหวัด ลงปฏิบัติได้ทันทีตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไป ซึ่งการปลูกป่าในพื้นที่โครงการหลวงจะให้โครงการหลวงนั้นรับผิดชอบ ส่วนพื้นที่ชายแดนจะให้กองทัพนั้นรับผิดชอบร่วมกับทางจังหวัด ซึ่งจะต้องเห็นผลภายใน 3 เดือนหลังจากนี้
นอกจากนี้ ยังมีการพยากรณ์ปริมาณน้ำในปีนี้ว่า จะมีประมาณ 20,000 ล้านลูกบาศก์เมตรจากพายุไต้ฝุ่น 27 ลูก และพายุโซนร้อนประมาณ 3-4 ลูก ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องเร่งระบายน้ำ 5,000 ล้านลูกบาศก์เมตรลงแก้มลิง และอีก 5,000 ล้านลูกบาศก์เมตรลงเขื่อน ส่วนที่เหลืออีก 10,000 ล้านลูกบาศก์เมตรที่จะไหลลงสู่กรุงเทพฯ จะต้องมีการบริหารจัดการน้ำให้ได้ภายใน 1 เดือนครึ่ง น้ำจะไม่ท่วมเหมือนปีที่แล้ว จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้ขึ้นไปที่สันเขื่อน เพื่อตรวจสอบสภาพระดับน้ำ ในการระบายน้ำจากเขื่อน ซึ่งเขื่อนสิริกิติ์เองถือเป็น 1 ใน 2 เขื่อนสำคัญที่มีการบริหารจัดการน้ำที่ดี
โดยนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา กรรมการ ชี้จุดปลูกป่าที่เป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม และทำฝายชุ่มชื้นให้ครอบคลุม 8 ลุ่มน้ำสำคัญภายในคืนนี้ เพื่อมอบนโยบายให้กับผู้ว่าราชการทุกจังหวัด ลงปฏิบัติได้ทันทีตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไป ซึ่งการปลูกป่าในพื้นที่โครงการหลวงจะให้โครงการหลวงนั้นรับผิดชอบ ส่วนพื้นที่ชายแดนจะให้กองทัพนั้นรับผิดชอบร่วมกับทางจังหวัด ซึ่งจะต้องเห็นผลภายใน 3 เดือนหลังจากนี้
นอกจากนี้ ยังมีการพยากรณ์ปริมาณน้ำในปีนี้ว่า จะมีประมาณ 20,000 ล้านลูกบาศก์เมตรจากพายุไต้ฝุ่น 27 ลูก และพายุโซนร้อนประมาณ 3-4 ลูก ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องเร่งระบายน้ำ 5,000 ล้านลูกบาศก์เมตรลงแก้มลิง และอีก 5,000 ล้านลูกบาศก์เมตรลงเขื่อน ส่วนที่เหลืออีก 10,000 ล้านลูกบาศก์เมตรที่จะไหลลงสู่กรุงเทพฯ จะต้องมีการบริหารจัดการน้ำให้ได้ภายใน 1 เดือนครึ่ง น้ำจะไม่ท่วมเหมือนปีที่แล้ว จากนั้นนายกรัฐมนตรีได้ขึ้นไปที่สันเขื่อน เพื่อตรวจสอบสภาพระดับน้ำ ในการระบายน้ำจากเขื่อน ซึ่งเขื่อนสิริกิติ์เองถือเป็น 1 ใน 2 เขื่อนสำคัญที่มีการบริหารจัดการน้ำที่ดี