เงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ หลังจากเผชิญแรงขายเช่นเดียวกับสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ ในช่วงต้นสัปดาห์ จากข่าวการปรับลดอันดับเครดิตของหลายประเทศในยูโรโซนโดย S&P และจากคำสั่งซื้อเงินดอลลาร์ฯ ของผู้ประกอบการ อย่างไรก็ดี เงินบาทสามารถล้างช่วงติดลบทั้งหมดลง และแข็งค่ากลับมาในช่วงกลาง-ปลายสัปดาห์ เนื่องจากข้อมูลจีดีพีไตรมาส 4/2554 ของจีน ผลการประมูลพันธบัตรรัฐบาลสมาชิกยูโรโซน และผลประราคาทองคำวันศุกร์ 1,665.91 ดอลลาร์/ออนซ์ เพิ่มขึ้น 11.41 ดอลลาร์/ออนซ์กอบการของบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ ที่ออกมาดีเกินคาด ตลอดจนข่าวการเตรียมเพิ่มเงินทุนของ IMF เพื่อช่วยจัดการกับวิกฤตหนี้ยุโรปได้กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อคืนสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งหนุนการแข็งค่าของเงินบาท และเงินในเอเชียในภาพรวม
ในวันศุกร์ (20 ม.ค.55) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 31.56 เทียบกับระดับ 31.73 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (13 ม.ค.55)
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์นี้ (23-27 มกราคม 2555) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 31.40-31.80 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยคงต้องจับตาประเด็นเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ยูโรโซน โดยเฉพาะผลการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ของกรีซกับเจ้าหนี้ภาคเอกชน และการประชุมของ Eurogroup ตลอดจนผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ และญี่ปุ่น รวมถึงการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนม.ค.รายงานโดยรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ยอดขายบ้านใหม่ ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนธ.ค.ตัวเลขจีดีพีประจำไตรมาส 4/2554 (เบื้องต้น) และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ นักลงทุนยังติดตามผลการประชุมนโยบายการเงินของธปท. ในวันที่ 25 ม.ค. อีกด้วย
ในวันศุกร์ (20 ม.ค.55) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 31.56 เทียบกับระดับ 31.73 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (13 ม.ค.55)
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์นี้ (23-27 มกราคม 2555) เงินบาทอาจเคลื่อนไหวในกรอบ 31.40-31.80 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยคงต้องจับตาประเด็นเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ยูโรโซน โดยเฉพาะผลการเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ของกรีซกับเจ้าหนี้ภาคเอกชน และการประชุมของ Eurogroup ตลอดจนผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ และญี่ปุ่น รวมถึงการรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนม.ค.รายงานโดยรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ยอดขายบ้านใหม่ ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนธ.ค.ตัวเลขจีดีพีประจำไตรมาส 4/2554 (เบื้องต้น) และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ นักลงทุนยังติดตามผลการประชุมนโยบายการเงินของธปท. ในวันที่ 25 ม.ค. อีกด้วย