ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ประชาชนเคยอ่านรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันหรือไม่ กับความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 28 จังหวัดของประเทศ พบว่า ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 57.5 ไม่เคยอ่านรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเลย ในขณะที่ร้อยละ 38.7 เคยอ่านบ้าง
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน พบว่า ประชาชนเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มมากขึ้น จากร้อยละ 46.7 ในเดือนสิงหาคม ปีที่ผ่านมา มาอยู่ที่ร้อยละ 53.8 ในการสำรวจครั้งล่าสุด โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า ควรแก้ไขบางประเด็น และต้องทำเพื่อประโยชน์ของสังคมโดยส่วนใหญ่ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
นอกจากนี้ เมื่อวิเคราะห์จำแนกออกตามภูมิภาคแล้วพบว่า ประชาชนในเกือบทุกภาคเกินกว่าครึ่งเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยกเว้นคนในภาคใต้ ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย โดยคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากที่สุด คือร้อยละ 68.4 รองลงมาคือ ภาคเหนือร้อยละ 55.3 ขณะที่คนในภาคใต้ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 79.4 ไม่เห็นด้วย
ดร.นพดล เปิดเผยเพิ่มเติมว่า เมื่อจำแนกตามระดับรายได้ พบว่า กลุ่มคนที่รายได้น้อยกว่า 15,000 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 58.6 เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในขณะที่คนที่มีรายได้มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน เกินครึ่ง หรือร้อยละ 52.4 ไม่เห็นด้วย
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 69.8 ระบุ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนทั้งประเทศเท่านั้น แต่ร้อยละ 30.2 ไม่คิดเช่นนั้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน พบว่า ประชาชนเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มมากขึ้น จากร้อยละ 46.7 ในเดือนสิงหาคม ปีที่ผ่านมา มาอยู่ที่ร้อยละ 53.8 ในการสำรวจครั้งล่าสุด โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า ควรแก้ไขบางประเด็น และต้องทำเพื่อประโยชน์ของสังคมโดยส่วนใหญ่ ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
นอกจากนี้ เมื่อวิเคราะห์จำแนกออกตามภูมิภาคแล้วพบว่า ประชาชนในเกือบทุกภาคเกินกว่าครึ่งเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยกเว้นคนในภาคใต้ ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย โดยคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากที่สุด คือร้อยละ 68.4 รองลงมาคือ ภาคเหนือร้อยละ 55.3 ขณะที่คนในภาคใต้ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 79.4 ไม่เห็นด้วย
ดร.นพดล เปิดเผยเพิ่มเติมว่า เมื่อจำแนกตามระดับรายได้ พบว่า กลุ่มคนที่รายได้น้อยกว่า 15,000 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 58.6 เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในขณะที่คนที่มีรายได้มากกว่า 20,000 บาทต่อเดือน เกินครึ่ง หรือร้อยละ 52.4 ไม่เห็นด้วย
อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่ หรือ ร้อยละ 69.8 ระบุ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนทั้งประเทศเท่านั้น แต่ร้อยละ 30.2 ไม่คิดเช่นนั้น