หลังการประชุมคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล หรือ วิปรัฐบาล ที่มีมติเห็นชอบเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. จากทุกภาคส่วนมาดำเนินการยกร่างใหม่ทั้งฉบับ
นายพีระพันธุ์ พาลุสุข ทีมกฎหมายของพรรคเพื่อไทย ระบุถึงกระบวนการหลังจากนี้ คือการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อกำหนดรูปแบบที่มาของ ส.ส.ร.ซึ่งเบื้องต้นเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการ เพราะเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่ประกาศไว้ แต่หากรัฐบาลไม่สะดวกสามารถให้ ส.ส.ดำเนินการในการผลักดันยกร่างแก้ไขได้ โดยเบื้องต้น ส.ส.เพื่อไทย เคยหารือถึงรูปแบบของ ส.ส.ร.3 ไว้ ว่าต้องมีความใกล้เคียงกับ ส.ส.ร.ปี 2540 โดยให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนแต่ละจังหวัดรวม 77 จังหวัด และตัวแทนจากนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ขณะที่รายละเอียดเนื้อหาสาระของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นการพิจารณาของ ส.ส.ร.ที่ได้รับการแต่งตั้ง
ขณะที่ฝ่ายค้านเตรียมหารือกำหนดท่าทีของการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเบื้องต้น นายนริศ ขำนุรักษ์ เลขานุการคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน ระบุว่า ไม่ขัดข้องหากการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไป เพื่อให้ระบบดีขึ้น แต่หากมีการดำเนินการเพื่อประโยชน์ของบุคคลใด เกรงว่าจะทำให้เกิดความขัดแย้งได้ แต่เห็นว่ากระบวนการในการกำหนดรูปแบบให้มี ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน แม้จะช่วยลดกระแสคัดค้านได้ แต่ไม่วางใจว่าอาจจะมีฝ่ายการเมืองครอบงำการเลือกตั้ง ส.ส.ร.ในระดับจังหวัด
นายพีระพันธุ์ พาลุสุข ทีมกฎหมายของพรรคเพื่อไทย ระบุถึงกระบวนการหลังจากนี้ คือการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อกำหนดรูปแบบที่มาของ ส.ส.ร.ซึ่งเบื้องต้นเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการ เพราะเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่ประกาศไว้ แต่หากรัฐบาลไม่สะดวกสามารถให้ ส.ส.ดำเนินการในการผลักดันยกร่างแก้ไขได้ โดยเบื้องต้น ส.ส.เพื่อไทย เคยหารือถึงรูปแบบของ ส.ส.ร.3 ไว้ ว่าต้องมีความใกล้เคียงกับ ส.ส.ร.ปี 2540 โดยให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนแต่ละจังหวัดรวม 77 จังหวัด และตัวแทนจากนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ขณะที่รายละเอียดเนื้อหาสาระของร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นการพิจารณาของ ส.ส.ร.ที่ได้รับการแต่งตั้ง
ขณะที่ฝ่ายค้านเตรียมหารือกำหนดท่าทีของการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเบื้องต้น นายนริศ ขำนุรักษ์ เลขานุการคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน ระบุว่า ไม่ขัดข้องหากการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไป เพื่อให้ระบบดีขึ้น แต่หากมีการดำเนินการเพื่อประโยชน์ของบุคคลใด เกรงว่าจะทำให้เกิดความขัดแย้งได้ แต่เห็นว่ากระบวนการในการกำหนดรูปแบบให้มี ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน แม้จะช่วยลดกระแสคัดค้านได้ แต่ไม่วางใจว่าอาจจะมีฝ่ายการเมืองครอบงำการเลือกตั้ง ส.ส.ร.ในระดับจังหวัด