นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กรอบวงเงินงบประมาณการฟื้นฟูเยียวยาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไป 20,110 ล้านบาทนั้น แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยครัวเรือนละ 5,000 บาท กว่า 2,600,000 ครัวเรือน ใน 62 จังหวัด เป็นเงิน 13,175 ล้านบาท
ด้านคุณภาพชีวิต แบ่งเป็น ฟื้นฟูคุณภาพชีวิต 314 ล้านบาท เตรียมความพร้อมให้กับโรงเรียนที่ถูกน้ำท่วม 2,006 แห่ง 456 ล้านบาท ด้านสาธารณสุขใน 9 จังหวัดที่ประสบภัยร้ายแรง 121 ล้านบาท บรรเทาการเลิกจ้างประมาณ 100,000 ราย 606 ล้านบาท ตั้งศูนย์ซ่อม-สร้างเพื่อชุมชน 17 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีด้านโครงสร้างพื้นฐาน แบ่งเป็น บูรณะโบราณสถาน 296 แห่ง เป็นเงิน 1,382 ล้านบาท ฟื้นฟูถนนเส้นทางหลัก 708 สาย 1,813 ล้านบาท และฟื้นฟูทางหลวงชนบท 11 สาย 139 ล้านบาท
ด้านคุณภาพชีวิต แบ่งเป็น ฟื้นฟูคุณภาพชีวิต 314 ล้านบาท เตรียมความพร้อมให้กับโรงเรียนที่ถูกน้ำท่วม 2,006 แห่ง 456 ล้านบาท ด้านสาธารณสุขใน 9 จังหวัดที่ประสบภัยร้ายแรง 121 ล้านบาท บรรเทาการเลิกจ้างประมาณ 100,000 ราย 606 ล้านบาท ตั้งศูนย์ซ่อม-สร้างเพื่อชุมชน 17 ล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีด้านโครงสร้างพื้นฐาน แบ่งเป็น บูรณะโบราณสถาน 296 แห่ง เป็นเงิน 1,382 ล้านบาท ฟื้นฟูถนนเส้นทางหลัก 708 สาย 1,813 ล้านบาท และฟื้นฟูทางหลวงชนบท 11 สาย 139 ล้านบาท