กระทรวงคมนาคมจะเริ่มซ่อมแซม และฟื้นฟูเส้นทางสายต่างๆ ตั้งแต่เดือนธันวาคมไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยกรมทางหลวงมีแผนจะเข้าซ่อมแซมในถนนสายหลัก และโครงข่ายสำคัญจำนวน 21 ทาง รวม 31 โครงการ คิดเป็นมูลค่าซ่อมบำรุงกว่า 1,879 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังคงมีโครงข่ายต่อเนื่องทั่วประเทศ จำนวน 677 โครงการ ที่จะเริ่มเข้าซ่อมแซมและฟื้นฟู ไปจนถึงเดือนสิงหาคมปีหน้า โดยกำหนดงบประมาณดำเนินการประมาณ 10,000 ล้านบาท
ขณะที่กรมทางหลวงชนบทจะฟื้นฟูเส้นทางสายหลักที่สนับสนุนการขนส่งลอจิสติกส์ และเส้นทางเข้าสู่นิคมอุตสาหกรรมจำนวน 4 สายทางวงเงิน 78 ล้านบาท และเส้นทางสายรองที่ได้รับผลกระทบมีจำนวน 454 สายทาง ใช้งบประมาณดำเนินการประมาณประมาณ 4,500 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาดำเนินการประมาณ 10 เดือน นับจากหลังน้ำลด
สำหรับการซ่อมแซมรางรถไฟ และระบบอาณัติสัญญาณกระทรวงคมนาคมคาดว่า จะต้องใช้งบประมาณกว่า 2,500 ล้านบาท ซึ่งทางรถไฟที่ได้รับผลกระทบได้แก่ สถานีรังสิต-ดอนเมือง สถานีรังสิต-เชียงราก สถานีหนองปลาดุก-สุพรรณบุรี และสถานีศาลายา-วัดสุวรรณงิ้วราย ส่วนขบวนที่งดเดินรถในขณะนี้มีเพียงช่วงเดียวคือ สถานีชุมทางหนองปลาดุก-สุพรรณบุรี
ขณะที่กรมทางหลวงชนบทจะฟื้นฟูเส้นทางสายหลักที่สนับสนุนการขนส่งลอจิสติกส์ และเส้นทางเข้าสู่นิคมอุตสาหกรรมจำนวน 4 สายทางวงเงิน 78 ล้านบาท และเส้นทางสายรองที่ได้รับผลกระทบมีจำนวน 454 สายทาง ใช้งบประมาณดำเนินการประมาณประมาณ 4,500 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาดำเนินการประมาณ 10 เดือน นับจากหลังน้ำลด
สำหรับการซ่อมแซมรางรถไฟ และระบบอาณัติสัญญาณกระทรวงคมนาคมคาดว่า จะต้องใช้งบประมาณกว่า 2,500 ล้านบาท ซึ่งทางรถไฟที่ได้รับผลกระทบได้แก่ สถานีรังสิต-ดอนเมือง สถานีรังสิต-เชียงราก สถานีหนองปลาดุก-สุพรรณบุรี และสถานีศาลายา-วัดสุวรรณงิ้วราย ส่วนขบวนที่งดเดินรถในขณะนี้มีเพียงช่วงเดียวคือ สถานีชุมทางหนองปลาดุก-สุพรรณบุรี