นายสมศักดิ์ คำทองคง ประธานที่ประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดสุโขทัย เปิดเผยว่า การฟื้นฟูชุมชนหลังประสบภัยนำท่วม จ.สุโขทัย ที่ดำเนินการโดยขบวนชุมชนและท้องถิ่น มีการจัดประชุมแกนนำขบวนชุมชนทั้งจังหวัดจำนวน 45 คน เพื่อหารือการฟื้นฟูและเก็บพันธ์ข้าว พร้อมจัดทำแผนที่จัดการน้ำทั้ง 90 ตำบล ใน 9 อำเภอ เพื่อรองรับและแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างจริงจัง ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกหมู่บ้านและตำบล เพื่อเสนอจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการฟื้นฟูและเก็บพันธ์ข้าวได้ระดมความช่วยเหลือจากผู้นำและชาวบ้านที่เก็บพันธ์ข้าวในทุกตำบล พร้อมเตรียมทำนาหลังน้ำลด ซึ่งพันธุ์ข้าวที่มีอยู่เพียงพอจะใช้ในปีนี้
แต่หลังจากนั้นจะมีระบบการจัดเก็บให้มากกว่านี้ เพราะน้ำท่วมบ่อยมากหากไม่มีระบบการจัดเก็บ พันธุ์ข้าวจะสูญหาย และเป็นภัยพิบัติของชาวนาในระยะต่อไป เฉพาะอ.กงไกรลาส พื้นที่นาเสียหาย ประมาณ 30,000 ไร่ กว่า 180 ล้านบาท
ประธานที่ประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดสุโขทัย กล่าวว่า สำหรับการจัดการน้ำทั้งระบบ ขณะนี้ทุกตำบลได้ทำข้อมูลแผนที่จัดการน้ำเพื่อรองรับการแก้ปัญหาอุทกภัยทุกตำบล ทั้ง 9 อำเภอ โดยทำเสร็จแล้ว 8 อำเภอ ซึ่งจะประชุมเพื่อสรุปข้อมูลร่วมกันในวันที่ 29 พฤศจิกายนนี้
นางวิไลภรณ์ แจ่มจันทร์ เลขานุการขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดสุโขทัย กล่าวว่า ในช่วงเกิดภัยพิบัติกองทุนสวัสดิการชุมชนหลายตำบล ได้ช่วยหลือสมาชิกกองทุนที่ได้รับผลกระทบและเดือดร้อน และประสานกับหน่วยงานเพื่อการช่วยเหลือคนในตำบลที่รายชื่อตกหล่นจากการสำรวจ การช่วยและดูแลผู้ด้อยโอกาสแม้ไม่เป็นสมาชิกกองทุน ทำให้กองทุนสวัสดิการชุมชนบางตำบลมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเช่นตำบลปากแคว เพราะประชาชนเห็นถึงประโยชน์ของกองทุนฯ
นางทรรศวรรณ ลีสวน ประธานกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสารจิตร กล่าวว่า จากการประชุมแกนนำของขบวนชุมชนจังหวัด มีข้อตกลงให้แกนนำชุมชนทุกอำเภอ ระดมข้าวสาร ผัก ผลไม้ที่มีอยู่แล้วในตำบลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ภาคกลางและกรุงเทพฯ ปริมณฑล ซึ่งในรอบแรกสามารถระดมด้ข้าวสารจำนวน 10 ตัน ปลาย่าง หน่อไม้ดอง มะละกอ กล้วย ฟัก ฯลฯ ซึ่งเป็นข้าวสารและผักจากชาวบ้านถึงผู้ประสบภัยจริงๆ
แต่หลังจากนั้นจะมีระบบการจัดเก็บให้มากกว่านี้ เพราะน้ำท่วมบ่อยมากหากไม่มีระบบการจัดเก็บ พันธุ์ข้าวจะสูญหาย และเป็นภัยพิบัติของชาวนาในระยะต่อไป เฉพาะอ.กงไกรลาส พื้นที่นาเสียหาย ประมาณ 30,000 ไร่ กว่า 180 ล้านบาท
ประธานที่ประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดสุโขทัย กล่าวว่า สำหรับการจัดการน้ำทั้งระบบ ขณะนี้ทุกตำบลได้ทำข้อมูลแผนที่จัดการน้ำเพื่อรองรับการแก้ปัญหาอุทกภัยทุกตำบล ทั้ง 9 อำเภอ โดยทำเสร็จแล้ว 8 อำเภอ ซึ่งจะประชุมเพื่อสรุปข้อมูลร่วมกันในวันที่ 29 พฤศจิกายนนี้
นางวิไลภรณ์ แจ่มจันทร์ เลขานุการขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดสุโขทัย กล่าวว่า ในช่วงเกิดภัยพิบัติกองทุนสวัสดิการชุมชนหลายตำบล ได้ช่วยหลือสมาชิกกองทุนที่ได้รับผลกระทบและเดือดร้อน และประสานกับหน่วยงานเพื่อการช่วยเหลือคนในตำบลที่รายชื่อตกหล่นจากการสำรวจ การช่วยและดูแลผู้ด้อยโอกาสแม้ไม่เป็นสมาชิกกองทุน ทำให้กองทุนสวัสดิการชุมชนบางตำบลมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเช่นตำบลปากแคว เพราะประชาชนเห็นถึงประโยชน์ของกองทุนฯ
นางทรรศวรรณ ลีสวน ประธานกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลสารจิตร กล่าวว่า จากการประชุมแกนนำของขบวนชุมชนจังหวัด มีข้อตกลงให้แกนนำชุมชนทุกอำเภอ ระดมข้าวสาร ผัก ผลไม้ที่มีอยู่แล้วในตำบลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ภาคกลางและกรุงเทพฯ ปริมณฑล ซึ่งในรอบแรกสามารถระดมด้ข้าวสารจำนวน 10 ตัน ปลาย่าง หน่อไม้ดอง มะละกอ กล้วย ฟัก ฯลฯ ซึ่งเป็นข้าวสารและผักจากชาวบ้านถึงผู้ประสบภัยจริงๆ