วิกฤตการเงินยุโรปกำลังฉุดเศรษฐกิจโลกเข้าสู่หายนะและจ่อภาวะถดถอยใกล้ขึ้น โดยเฉพาะเมื่อประกอบกับผลพวงจากศึกในสภาแดนอินทรีกรณีการหาทางตัดลดยอดขาดดุลงบประมาณจำนวนมหาศาล
ยอดส่งออกของจีนทรุดลง 50% จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ขณะที่ยอดสั่งซื้อของโรงงานในเยอรมนี ประเทศเศรษฐกิจเบอร์ 1 ของยุโรป ดิ่งลงตามการชะลอตัวในแดนมังกร อินโดนีเซียและออสเตรเลียลดดอกเบี้ยเพื่อผ่อนเพลาความเสียหายจากยุโรป ญี่ปุ่น อังกฤษ และบราซิล พร้อมใจลดการคาดการณ์การเติบโต
จากปักกิ่งถึงวอชิงตันและเซาเปาโล เจ้าหน้าที่การเงินระดับสูงกำลังกังวลว่าเศรษฐกิจจะถูกสูบเข้าสู่ความโกลาหล เนื่องจากยุโรปไม่สามารถหาข้อสรุปอย่างเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับการแก้ไขวิกฤตหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีและสเปนที่เคลื่อนไหวอยู่แถวๆ 7% ส่งผลให้แบงก์พาณิชย์มีปัญหาในการระดมทุน และพลอยกระเทือนถึงเศรษฐกิจโลก ตามมาด้วยความเชื่อมั่นคลอนแคลนและการเติบโตถูกฉุดรั้ง
ไมค์ เฟอโรลี หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเจพี มอร์แกน เชสในสหรัฐฯ ชี้ว่าอเมริกาอาจรอดพ้นจากภาวะถดถอยได้ ถ้ายุโรปไม่ล้มเหลวในการแก้ไขปัญหา แต่เมื่อพิจารณาว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ยุโรปยังไร้ทางออก จึงดูเหมือนว่าทางรอดของแดนอินทรีจะตีบตันไปด้วย อีกทั้งมองไม่เห็นจุดสิ้นสุดของปัญหา
คริสติน ลาการ์ด กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ขานรับว่า ถ้าปัญหาเศรษฐกิจยุโรปไม่ได้รับการแก้ไข อาจส่งผลใหญ่หลวงต่อสหรัฐฯ เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกันอย่างแน่นหนา
ยอดส่งออกของจีนทรุดลง 50% จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ขณะที่ยอดสั่งซื้อของโรงงานในเยอรมนี ประเทศเศรษฐกิจเบอร์ 1 ของยุโรป ดิ่งลงตามการชะลอตัวในแดนมังกร อินโดนีเซียและออสเตรเลียลดดอกเบี้ยเพื่อผ่อนเพลาความเสียหายจากยุโรป ญี่ปุ่น อังกฤษ และบราซิล พร้อมใจลดการคาดการณ์การเติบโต
จากปักกิ่งถึงวอชิงตันและเซาเปาโล เจ้าหน้าที่การเงินระดับสูงกำลังกังวลว่าเศรษฐกิจจะถูกสูบเข้าสู่ความโกลาหล เนื่องจากยุโรปไม่สามารถหาข้อสรุปอย่างเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับการแก้ไขวิกฤตหนี้
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีและสเปนที่เคลื่อนไหวอยู่แถวๆ 7% ส่งผลให้แบงก์พาณิชย์มีปัญหาในการระดมทุน และพลอยกระเทือนถึงเศรษฐกิจโลก ตามมาด้วยความเชื่อมั่นคลอนแคลนและการเติบโตถูกฉุดรั้ง
ไมค์ เฟอโรลี หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเจพี มอร์แกน เชสในสหรัฐฯ ชี้ว่าอเมริกาอาจรอดพ้นจากภาวะถดถอยได้ ถ้ายุโรปไม่ล้มเหลวในการแก้ไขปัญหา แต่เมื่อพิจารณาว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ยุโรปยังไร้ทางออก จึงดูเหมือนว่าทางรอดของแดนอินทรีจะตีบตันไปด้วย อีกทั้งมองไม่เห็นจุดสิ้นสุดของปัญหา
คริสติน ลาการ์ด กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ขานรับว่า ถ้าปัญหาเศรษฐกิจยุโรปไม่ได้รับการแก้ไข อาจส่งผลใหญ่หลวงต่อสหรัฐฯ เนื่องจากมีความเชื่อมโยงกันอย่างแน่นหนา