น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงความคืบหน้าการฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรมและสวนอุตสาหกรรมทั้ง 7 แห่ง ว่า ขณะนี้แนวทางการฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรมใน จ.พระนครศรีอยุธยามีความคืบหน้าไปมาก มั่นใจว่า ภายในเดือนธันวาคมนี้นิคมอุตสาหกรรมที่ประสบภัยน้ำท่วมในฝั่งตะวันออกจะสามารถเดินเครื่องการผลิตได้อย่างน้อยร้อยละ 70-80 ของอุตสาหกรรมทั้งหมด โดยขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินมูลค่าความเสียหายได้ เนื่องจากบางนิคมอุตสาหกรรมน้ำยังไม่แห้งสนิท ซึ่งต้องใช้เวลาในการประเมินความเสียหายที่ชัดเจนอีกครั้งช่วงน้ำแห้งทั้งหมดแล้ว ยืนยันรัฐบาลมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องการช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะแผนการฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรม
สำหรับเขตอุตสาหกรรมแฟคตอรี่แลนด์วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำแห้งเกือบทั้งหมดแล้ว ขณะนี้มี 12 โรงงาน สามารถเดินเครื่องการผลิตได้แล้ว คาด อีก 70 โรงงานที่เหลือ จะเดินเครื่องได้ภายในต้นเดือนธันวาคมนี้ ขณะที่นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน น้ำจะแห้งสนิทภายในวันที่ 20-22 พฤศจิกายนนี้ และวันที่ 1-5 ธันวาคมนี้จะมีโรงงานเปิดทำการได้ประมาณร้อยละ 70 จากโรงงานทั้งหมด 90 โรง ส่วนนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค คาด น้ำจะแห้งสนิทในวันที่ 25 พฤศจิกายนนี้ และโรงงานจะเดินเครื่องได้ภายในต้นเดือนธันวาคมนี้ ด้านนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ทั้ง 3 เฟส คาด จะสูบน้ำได้หมดภายในวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้ และต้นเดือนธันวาคมจะทำการซ่อมแซม และเปิดการผลิตได้อย่างน้อยร้อยละ 70-80 ของจำนวนโรงงานทั้งหมด และนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ขณะนี้ระดับน้ำยังสูงอยู่ประมาณ 2-2.5 เมตร จำเป็นต้องมีการเจาะถนนบางส่วนเพื่อระบายน้ำเส้นบางปะหัน-บางเดือ คาด สามารถเริ่มสูบน้ำได้ภายในต้นเดือนธันวาคมนี้ จากนั้น 1 สัปดาห์ โรงงานบางส่วนจะเปิดการผลิตได้ ส่วนอีก 2 แห่ง คือ นิคมอุตสาหกรรมนวนครและสวนอุตสาหกรรมบางกะดี ต้องรอระดับน้ำลดลงก่อน จึงจะดำเนินการซ่อมแซมฟื้นฟูต่อไปได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ยืนยันว่า นิคมอุตสาหกรรมบางชันและลาดกระบัง สถานการณ์เริ่มดีขึ้น ระดับน้ำทรงตัวและปรับตัวลดลงเล็กน้อย เชื่อว่า สามารถรับมือได้ ขณะที่นิคมอุตสาหกรรมในฝั่งตะวันตกจะไม่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมรุนแรงเท่ากับ จ.พระนครศรีอยุธยาแน่นอน เพราะองค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศญี่ปุ่น หรือ ไจกา ได้ส่งความช่วยเหลือเป็นเครื่องสูบน้ำมายังรัฐบาลไทยจำนวน 10 เครื่อง ที่จะถึงท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี วันที่ 17 พฤศจิกายนนี้ เพื่อใช้ในการป้องกันอุตสาหกรรมต่างๆ
สำหรับเขตอุตสาหกรรมแฟคตอรี่แลนด์วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำแห้งเกือบทั้งหมดแล้ว ขณะนี้มี 12 โรงงาน สามารถเดินเครื่องการผลิตได้แล้ว คาด อีก 70 โรงงานที่เหลือ จะเดินเครื่องได้ภายในต้นเดือนธันวาคมนี้ ขณะที่นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน น้ำจะแห้งสนิทภายในวันที่ 20-22 พฤศจิกายนนี้ และวันที่ 1-5 ธันวาคมนี้จะมีโรงงานเปิดทำการได้ประมาณร้อยละ 70 จากโรงงานทั้งหมด 90 โรง ส่วนนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค คาด น้ำจะแห้งสนิทในวันที่ 25 พฤศจิกายนนี้ และโรงงานจะเดินเครื่องได้ภายในต้นเดือนธันวาคมนี้ ด้านนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ทั้ง 3 เฟส คาด จะสูบน้ำได้หมดภายในวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้ และต้นเดือนธันวาคมจะทำการซ่อมแซม และเปิดการผลิตได้อย่างน้อยร้อยละ 70-80 ของจำนวนโรงงานทั้งหมด และนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ขณะนี้ระดับน้ำยังสูงอยู่ประมาณ 2-2.5 เมตร จำเป็นต้องมีการเจาะถนนบางส่วนเพื่อระบายน้ำเส้นบางปะหัน-บางเดือ คาด สามารถเริ่มสูบน้ำได้ภายในต้นเดือนธันวาคมนี้ จากนั้น 1 สัปดาห์ โรงงานบางส่วนจะเปิดการผลิตได้ ส่วนอีก 2 แห่ง คือ นิคมอุตสาหกรรมนวนครและสวนอุตสาหกรรมบางกะดี ต้องรอระดับน้ำลดลงก่อน จึงจะดำเนินการซ่อมแซมฟื้นฟูต่อไปได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ยืนยันว่า นิคมอุตสาหกรรมบางชันและลาดกระบัง สถานการณ์เริ่มดีขึ้น ระดับน้ำทรงตัวและปรับตัวลดลงเล็กน้อย เชื่อว่า สามารถรับมือได้ ขณะที่นิคมอุตสาหกรรมในฝั่งตะวันตกจะไม่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมรุนแรงเท่ากับ จ.พระนครศรีอยุธยาแน่นอน เพราะองค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศญี่ปุ่น หรือ ไจกา ได้ส่งความช่วยเหลือเป็นเครื่องสูบน้ำมายังรัฐบาลไทยจำนวน 10 เครื่อง ที่จะถึงท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี วันที่ 17 พฤศจิกายนนี้ เพื่อใช้ในการป้องกันอุตสาหกรรมต่างๆ