นางสาลินี วังตาล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินได้ว่า ปัญหาน้ำท่วมจะทำให้เกิดปัญหาหนี้เสียในสินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต หรือบัตรกดเงินสด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกค้าที่มีรายได้ระดับล่าง ที่มียอดหนี้ต่อรายต่ำ แต่มีจำนวนรายจ่ายมาก ว่า มีผลกระทบหนี้เสียมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะสินเชื่อในส่วนของสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ หรือนันแบงก์ ที่อยู่ในกำกับของ ธปท. ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่นำมาประเมิน ต้องติดสถานการณ์อีกครั้งหลังน้ำลดแล้ว
ทั้งนี้ ยอดหนี้เสีย หรือหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในระบบสถาบันการเงินของไทย ยังไม่สูงมากนัก เพราะสถาบันการเงินส่วนใหญ่ โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ มีมาตรการผ่อนผันเงื่อนไขการชำระหนี้ให้ลูกค้า ทำให้ยอด NPL ในระบบยังไม่เพิ่มขึ้น โดยหากดูจากข้อมูลล่าสุดที่ ธปท. ประกาศในเดือนกันยายนปีนี้ พบว่า NPL ก่อนหักกันสำรอง (Gress NPL) มีจำนวน 2.61 แสนล้านบาท หรือ 3.07 % ของสินเชื่อทั้งระบบ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือน มิ.ย. ในปีนี้ ที่มี 2.76 แสนล้านบาท หรือ 3.26 % ของสินเชื่อทั้งระบบ
อย่างไรก็ตาม NPL สุทธิหลักหักกันสำรอง (NET NPL) เดือนกันยายน ปีนี้ อยู่ที่ระดับ 1.36 แสนล้านบาท หรือ 1.63 % ของสินเชื่อรวม ลดลงจากเดือนมิถุนายน ปีนี้ ที่เคยอยู่ที่ระดับ 1.53 แสนล้านบาท หรือ 1.83 % ของสินเชื่อรวม
ทั้งนี้ ยอดหนี้เสีย หรือหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในระบบสถาบันการเงินของไทย ยังไม่สูงมากนัก เพราะสถาบันการเงินส่วนใหญ่ โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ มีมาตรการผ่อนผันเงื่อนไขการชำระหนี้ให้ลูกค้า ทำให้ยอด NPL ในระบบยังไม่เพิ่มขึ้น โดยหากดูจากข้อมูลล่าสุดที่ ธปท. ประกาศในเดือนกันยายนปีนี้ พบว่า NPL ก่อนหักกันสำรอง (Gress NPL) มีจำนวน 2.61 แสนล้านบาท หรือ 3.07 % ของสินเชื่อทั้งระบบ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือน มิ.ย. ในปีนี้ ที่มี 2.76 แสนล้านบาท หรือ 3.26 % ของสินเชื่อทั้งระบบ
อย่างไรก็ตาม NPL สุทธิหลักหักกันสำรอง (NET NPL) เดือนกันยายน ปีนี้ อยู่ที่ระดับ 1.36 แสนล้านบาท หรือ 1.63 % ของสินเชื่อรวม ลดลงจากเดือนมิถุนายน ปีนี้ ที่เคยอยู่ที่ระดับ 1.53 แสนล้านบาท หรือ 1.83 % ของสินเชื่อรวม