กระทรวงสาธารณสุขสั่งเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังโรคระบาดที่มากับน้ำท่วม คือโรคฉี่หนู เนื่องจากโรคนี้เจริญเติบโตและมีชีวิตอยู่ได้ในแหล่งน้ำท่วมไม่น้อยกว่า 3 สัปดาห์ รวมถึงคนที่เคยป่วยมีโอกาสป่วยซ้ำ
โดยเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลหรือรอยขีดขวนที่ผิวหนัง หรืออาจจะเข้าทางตา จมูก ปาก หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง มีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิต
ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจตัวอย่างผู้ป่วยที่สงสัยเป็นโรคฉี่หนู 20 ตัวอย่าง พบว่าเป็นโรคฉี่หนู 1 ราย ที่ จ.ขอนแก่น
นายแพทย์บุญชัย สมบูรณ์สุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม - 4 พฤศจิกายน ได้เก็บตัวอย่างอาหาร 45 ตัวอย่าง ใน จ.ปทุมธานี นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา และกรุงเทพมหานคร โดยพบว่าปนเปื้อนเชื้ออุจจาระร่าง 17 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 38 และสุ่มตรวจตัวอย่างน้ำดื่มน้ำใช้ และน้ำแข็ง ในพื้นที่น้ำท่วม 57 ตัวอย่าง โดยพบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ 21 ตัวอย่าง โดยเฉพาะน้ำแข็งและเครื่องดื่มผสมน้ำแข็ง พบเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษทุกตัวอย่าง
จึงขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำแข็ง หรือเครื่องดื่มผสมน้ำแข็ง โดยให้ดื่มน้ำสะอาดบรรจุขวด ที่มีเครื่องหมาย อย.หรือน้ำที่ผ่านเครื่องกรองน้ำ หรือต้มน้ำให้สุก
โดยเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลหรือรอยขีดขวนที่ผิวหนัง หรืออาจจะเข้าทางตา จมูก ปาก หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง มีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิต
ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจตัวอย่างผู้ป่วยที่สงสัยเป็นโรคฉี่หนู 20 ตัวอย่าง พบว่าเป็นโรคฉี่หนู 1 ราย ที่ จ.ขอนแก่น
นายแพทย์บุญชัย สมบูรณ์สุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม - 4 พฤศจิกายน ได้เก็บตัวอย่างอาหาร 45 ตัวอย่าง ใน จ.ปทุมธานี นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา และกรุงเทพมหานคร โดยพบว่าปนเปื้อนเชื้ออุจจาระร่าง 17 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 38 และสุ่มตรวจตัวอย่างน้ำดื่มน้ำใช้ และน้ำแข็ง ในพื้นที่น้ำท่วม 57 ตัวอย่าง โดยพบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ 21 ตัวอย่าง โดยเฉพาะน้ำแข็งและเครื่องดื่มผสมน้ำแข็ง พบเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษทุกตัวอย่าง
จึงขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำแข็ง หรือเครื่องดื่มผสมน้ำแข็ง โดยให้ดื่มน้ำสะอาดบรรจุขวด ที่มีเครื่องหมาย อย.หรือน้ำที่ผ่านเครื่องกรองน้ำ หรือต้มน้ำให้สุก