แม้หลายคนอาจมีความหวังว่า ผู้นำยุโรปใกล้คลอดกลยุทธ์ต่อสู้วิกฤตหนี้ยูโรโซนในอีกวันสองวันนี้ แต่สำหรับบางคน กลยุทธ์ดังกล่าวดูเหมือนมีข้อบกพร่องชัดเจนและเป็นไปได้ว่าจะล้มเหลว
ภายใต้ข้อตกลงที่มีแนวโน้มผ่านความเห็นชอบของที่ประชุมสุดยอดสหภาพยุโรป (อียู) ในวันพุธ (26) หนี้กรีซจะลดลง แบงก์ยุโรปเตรียมตัวเพิ่มทุน และกองทุนฟื้นฟูยูโรโซนมีทรัพยากรเพิ่มเติมเพื่อรับประกันพันธบัตรคลังบางส่วน และอิตาลีถูกกดดันให้ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจอย่างจริงจัง
แต่แผนการเหล่านี้สุดท้ายอาจไม่ได้ดังที่คาดหวัง
เงินยูโรและตลาดหุ้นดีดขึ้นรับข่าวดีจากซัมมิตภาคแรกเมื่อวันอาทิตย์ (23) ด้วยหวังว่าที่สุดแล้วยุโรปใกล้มีมาตรการที่ครอบคลุมรับมือวิกฤตที่เรื้อรังมาร่วม 2 ปีและส่งผลลุกลามถึงเศรษฐกิจโลก
กระนั้น ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าข้อตกลงที่จะเกิดขึ้นเพียงพอหยุดยั้งปัญหาและฟื้นความเชื่อมั่นของนักลงทุนหรือไม่ เพราะข้อตกลงดังกล่าวบางส่วนอิงกับวิศวกรรมการเงินที่ยังไม่ได้รับการทดสอบ
การไม่สามารถหรือไม่พร้อมใช้ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เป็นนายทุนสนับสนุนการต่อสู้กับโรคระบาดลุกลามในตลาดพันธบัตร ทำให้ 17 ชาติยูโรโซนคิดอ่านหันไปพึ่งจีนและประเทศตลาดเกิดใหม่อื่นๆ
ไอเดียหนึ่งที่ขบคิดกันอยู่ตอนนี้คือ การสร้างกองทุนเฉพาะกิจ (เอสพีไอวี) ที่มีกองทุนฟื้นเสถียรภาพการเงินยุโรป (อีเอฟเอสเอฟ) สนับสนุน เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติมาซื้อพันธบัตรในตลาดหลักและตลาดรอง
“ไม่น่าเชื่อว่าเรากำลังจะอ้าแขนรับจีนเข้ามามีสิทธิ์มีเสียงในยูโรโซน เพราะเยอรมนีไม่ยอมให้เราใช้ธนาคารกลางของเราเองในฐานะธนาคารกลาง” เจ้าหน้าที่อียูคนหนึ่งปรารภ
ภายใต้ข้อตกลงที่มีแนวโน้มผ่านความเห็นชอบของที่ประชุมสุดยอดสหภาพยุโรป (อียู) ในวันพุธ (26) หนี้กรีซจะลดลง แบงก์ยุโรปเตรียมตัวเพิ่มทุน และกองทุนฟื้นฟูยูโรโซนมีทรัพยากรเพิ่มเติมเพื่อรับประกันพันธบัตรคลังบางส่วน และอิตาลีถูกกดดันให้ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจอย่างจริงจัง
แต่แผนการเหล่านี้สุดท้ายอาจไม่ได้ดังที่คาดหวัง
เงินยูโรและตลาดหุ้นดีดขึ้นรับข่าวดีจากซัมมิตภาคแรกเมื่อวันอาทิตย์ (23) ด้วยหวังว่าที่สุดแล้วยุโรปใกล้มีมาตรการที่ครอบคลุมรับมือวิกฤตที่เรื้อรังมาร่วม 2 ปีและส่งผลลุกลามถึงเศรษฐกิจโลก
กระนั้น ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าข้อตกลงที่จะเกิดขึ้นเพียงพอหยุดยั้งปัญหาและฟื้นความเชื่อมั่นของนักลงทุนหรือไม่ เพราะข้อตกลงดังกล่าวบางส่วนอิงกับวิศวกรรมการเงินที่ยังไม่ได้รับการทดสอบ
การไม่สามารถหรือไม่พร้อมใช้ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) เป็นนายทุนสนับสนุนการต่อสู้กับโรคระบาดลุกลามในตลาดพันธบัตร ทำให้ 17 ชาติยูโรโซนคิดอ่านหันไปพึ่งจีนและประเทศตลาดเกิดใหม่อื่นๆ
ไอเดียหนึ่งที่ขบคิดกันอยู่ตอนนี้คือ การสร้างกองทุนเฉพาะกิจ (เอสพีไอวี) ที่มีกองทุนฟื้นเสถียรภาพการเงินยุโรป (อีเอฟเอสเอฟ) สนับสนุน เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติมาซื้อพันธบัตรในตลาดหลักและตลาดรอง
“ไม่น่าเชื่อว่าเรากำลังจะอ้าแขนรับจีนเข้ามามีสิทธิ์มีเสียงในยูโรโซน เพราะเยอรมนีไม่ยอมให้เราใช้ธนาคารกลางของเราเองในฐานะธนาคารกลาง” เจ้าหน้าที่อียูคนหนึ่งปรารภ