นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงกรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี สั่งการให้ดีเอสไอนำสำนวนคดีการเสียชีวิตของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จำนวน 13 คน ที่เชื่อว่าเสียชีวิตจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐส่งต่อไปให้ตำรวจท้องที่เกิดเหตุดำเนินการต่อ โดยในวันจันทร์ที่ 19 กันยายน นี้ ดีเอสไอจะนำสำนวนทั้ง 13 คนไปมอบให้ พล.ต.ท.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) เพื่อให้ตำรวจท้องที่เกิดเหตุสอบสวน
เนื่องจากก่อนหน้านี้ ดีเอสไอเคยสรุปสำนวนการเสียชีวิต 89 คน พบว่ามี 13 คน ที่ดีเอสไอพบหลักฐานว่าเจ้าหน้าที่ทหารอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต จึงได้ส่งสำนวนให้ตำรวจท้องที่ไต่สวน ทำสำนวนชันสูตรพลิกศพ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจเห็นต่างจากดีเอสไอและส่งสำนวนส่งคืนให้ดีเอสไอ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจมีความเห็นว่า ไม่มีเจ้าหน้าที่คนใดอ้างว่าการเสียชีวิตเกิดจากการปฏิบัติของตนเอง ทั้งนี้ ดีเอสไอร่วมกับอัยการได้พิจารณาสำนวนซ้ำหลายครั้งแล้วพบว่า การที่เจ้าหน้าที่อ้างว่าทำตามหน้าที่ดังกล่าว ตามพฤติการณ์แล้วถือเป็นการยอมรับโดยปริยายว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่
นายธาริต ยังกล่าวว่า สำนวนดังกล่าวดีเอสไอกับอัยการถือว่ามีความเห็นต่างจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยเห็นว่า เจ้าหน้าที่รัฐอาจเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต ดังนั้นตามขั้นตอน เมื่อมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องจะต้องส่งสำนวนกลับไปให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อสรุปสำนวนให้อัยการยื่นคำร้องให้ศาลเป็นผู้ไต่สวนชี้ขาด
เนื่องจากก่อนหน้านี้ ดีเอสไอเคยสรุปสำนวนการเสียชีวิต 89 คน พบว่ามี 13 คน ที่ดีเอสไอพบหลักฐานว่าเจ้าหน้าที่ทหารอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต จึงได้ส่งสำนวนให้ตำรวจท้องที่ไต่สวน ทำสำนวนชันสูตรพลิกศพ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจเห็นต่างจากดีเอสไอและส่งสำนวนส่งคืนให้ดีเอสไอ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจมีความเห็นว่า ไม่มีเจ้าหน้าที่คนใดอ้างว่าการเสียชีวิตเกิดจากการปฏิบัติของตนเอง ทั้งนี้ ดีเอสไอร่วมกับอัยการได้พิจารณาสำนวนซ้ำหลายครั้งแล้วพบว่า การที่เจ้าหน้าที่อ้างว่าทำตามหน้าที่ดังกล่าว ตามพฤติการณ์แล้วถือเป็นการยอมรับโดยปริยายว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่
นายธาริต ยังกล่าวว่า สำนวนดังกล่าวดีเอสไอกับอัยการถือว่ามีความเห็นต่างจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยเห็นว่า เจ้าหน้าที่รัฐอาจเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต ดังนั้นตามขั้นตอน เมื่อมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องจะต้องส่งสำนวนกลับไปให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อสรุปสำนวนให้อัยการยื่นคำร้องให้ศาลเป็นผู้ไต่สวนชี้ขาด