นายวีระ วงศ์แสงนาค รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำที่ จ.นครสวรรค์ วันนี้อยู่ที่ 3,568 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนปริมาณน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา อยู่ที่ 3,538 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มเล็กน้อยจากเมื่อวานนี้ มวลน้ำทั้งหมดจะเริ่มไหลจากพื้นที่ต่างๆ มาบรรจบที่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ถือเป็นช่วงที่ต้องเฝ้าระวัง และจะสามารถประเมินว่ามีปัญหาต่อระดับน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานครหรือไม่
เบื้องต้นคาดว่า ปริมาณน้ำที่ อ.บางไทร น่าจะอยู่ที่ระดับ 3,215 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ประมาณวันที่ 19 กันยายนนี้ ระดับน้ำน่าจะอยู่ที่ 3,500-3,600 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งพื้นที่กรุงเทพมหานครยังสามารถรองรับได้ เนื่องจากอยู่ในช่วงที่ระดับน้ำทะเลลดลง ยังสามารถระบายน้ำได้ ไม่น่าเกิดวิกฤตรุนแรง แต่หากปริมาณน้ำไหลมาถึงแม่น้ำเจ้าพระยา วันที่ 29-30 กันยายน จะเป็นช่วงวิกฤต เนื่องจากน้ำทะเลหนุนสูง
ที่ยังคงเป็นห่วงเนื่องจาก คันกั้นน้ำไม่แข็งแรงพอ อาจจะสร้างความเสียหายให้กับประชาชน จึงขอให้ดูแลความแข็งแรงคันกั้นน้ำ เพื่อรองรับปริมาณน้ำที่จะไหลผ่านในบางจังหวัด
ส่วนพื้นที่ภาคอีสาน ล่าสุดมีเพียง จ.ชัยภูมิ ที่ระดับน้ำเริ่มเต็มตลิ่ง แต่ยังไม่ถึงขั้นวิกฤต
เบื้องต้นคาดว่า ปริมาณน้ำที่ อ.บางไทร น่าจะอยู่ที่ระดับ 3,215 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ประมาณวันที่ 19 กันยายนนี้ ระดับน้ำน่าจะอยู่ที่ 3,500-3,600 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งพื้นที่กรุงเทพมหานครยังสามารถรองรับได้ เนื่องจากอยู่ในช่วงที่ระดับน้ำทะเลลดลง ยังสามารถระบายน้ำได้ ไม่น่าเกิดวิกฤตรุนแรง แต่หากปริมาณน้ำไหลมาถึงแม่น้ำเจ้าพระยา วันที่ 29-30 กันยายน จะเป็นช่วงวิกฤต เนื่องจากน้ำทะเลหนุนสูง
ที่ยังคงเป็นห่วงเนื่องจาก คันกั้นน้ำไม่แข็งแรงพอ อาจจะสร้างความเสียหายให้กับประชาชน จึงขอให้ดูแลความแข็งแรงคันกั้นน้ำ เพื่อรองรับปริมาณน้ำที่จะไหลผ่านในบางจังหวัด
ส่วนพื้นที่ภาคอีสาน ล่าสุดมีเพียง จ.ชัยภูมิ ที่ระดับน้ำเริ่มเต็มตลิ่ง แต่ยังไม่ถึงขั้นวิกฤต