นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากการเฝ้าระวังสุขภาพจิต และการฆ่าตัวตายของคนไทย แม้จะพบอัตราลดลงต่อเนื่อง แต่ยังพบมีการฆ่าตัวตาย สูงถึง 5.9 ต่อประชากร 1 แสนคน โดยกลุ่มอายุ 80-84 ปี เป็นกลุ่มฆ่าตัวตายสูงสุด รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 75-79 ปี และ 70-74 ปี โดยเป็นเพศชายมากกว่าเพซหญิง
ทั้งนี้ หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจฆ่าตัวตายมากที่สุด คือ วัฒนธรรมแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน ทำให้ตัดสินใจเลือกทางออกปัญหาร้ายแรงที่ต่างกัน ในประเทศไทย พื้นที่ที่วัฒนธรรมีผลต่อการฆ่าตัวตายมากที่สุดคือ ภาคเหนือ ซึ่งยึดมั่นเรื่องการรักษาหน้าตาทางสังคมสูง จึงพบจังหวัดที่มีการฆ่าตัวตายสูงที่สุด 5 อันดับแรกอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือทั้งสิ้น คือ ลำพูน เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน และเชียงใหม่
แนะควรทำจิตใจให้เบิกบาน มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างสม่ำเสมอ รู้จักระบายปัญหา ขอคำปรึกษา ไม่เก็บความเครียดไว้คนเดียว และต้องใช้ชีวิตอย่างมีหวังที่จะได้รับสิ่งที่ดีในอนาคต จะได้ไม่ท้อแท้ถอดใจฆ่าตัวตายในที่สุด
ทั้งนี้ หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ตัดสินใจฆ่าตัวตายมากที่สุด คือ วัฒนธรรมแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน ทำให้ตัดสินใจเลือกทางออกปัญหาร้ายแรงที่ต่างกัน ในประเทศไทย พื้นที่ที่วัฒนธรรมีผลต่อการฆ่าตัวตายมากที่สุดคือ ภาคเหนือ ซึ่งยึดมั่นเรื่องการรักษาหน้าตาทางสังคมสูง จึงพบจังหวัดที่มีการฆ่าตัวตายสูงที่สุด 5 อันดับแรกอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือทั้งสิ้น คือ ลำพูน เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน และเชียงใหม่
แนะควรทำจิตใจให้เบิกบาน มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างสม่ำเสมอ รู้จักระบายปัญหา ขอคำปรึกษา ไม่เก็บความเครียดไว้คนเดียว และต้องใช้ชีวิตอย่างมีหวังที่จะได้รับสิ่งที่ดีในอนาคต จะได้ไม่ท้อแท้ถอดใจฆ่าตัวตายในที่สุด