น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) เปิดเผยถึงอิทธิพลของพายุโซนร้อนนกเต็น ที่จะทำให้มีฝนตกชุกหนาแน่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ช่วงวันที่ 30-31 กรกฎาคมนี้ ว่า ขณะนี้ ศภช.ได้แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงให้เฝ้าระวังแล้ว แต่ตั้ง จ.เชียงราย จ.เพชรบูรณ์ จ.พิษณุโลก จ.แพร่ จ.น่าน ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.หนองคาย จ.บึงกาฬ จ.สกลนคร จ.นครพนม ซึ่งเป็นจังหวัดที่ได้รับผลกระทบเรื่องน้ำอยู่บ่อยครั้ง นอกจากนี้ ศภช.ยังได้แจ้งเรื่องการพร่องน้ำของเขื่อน อาทิ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งประชาชนที่อยู่ในแนวแม่น้ำเจ้าพระยา อย่าตื่นตกใจ เนื่องจากอาจจะมีปริมาณน้ำสูงขึ้นบ้าง
น.อ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนความเร็วของพายุโซนร้อนนกเตน เบื้องต้นอยู่ที่ประมาณ 18 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะที่ความเร็วในการเคลื่อนตัวอยู่ที่ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงถือว่ามีความรุนแรงไม่มาก และน้อยกว่าพายุไหหม่า ซึ่งพายุโซนร้อนนกเต็นจะเดินทางเข้าประเทศเวียดนามเท่านั้น แต่ประเทศไทยอาจจะได้รับอิทธิพลของพายุนกเต็นไม่มาก แต่หากจะมีอิทธิพลของพายุโซนร้อนนกเต็นเข้ามา ศภช.ก็จะทำหน้าที่เฝ้าระวัง และทำการแจ้งเตือน โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ที่ราบเชิงเขาภาคเหนือ ให้พร้อมอพยพไปในที่ปลอดภัย
ส่วนประชาชนที่อยู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ จ.สิงห์บุรี จ.อ่างทอง จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ปทุมธานี อาจได้รับผลกระทบจากกระแสน้ำที่สูงขึ้นบ้าง แต่ไม่ต้องวิตก และย้ำอีกว่า ถ้าพายุเข้ามาก็ยังดูอยู่ โดยทำงานประสานกับกรมชลประทาน และกรมอุตุนิยมวิทยาตลอด ซึ่งที่ผ่านมาได้ทำหนังสือถึงหลายหน่วยงานว่าตามสถิติช่วงเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน ให้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง เพราะอาจจะมีพายุเข้าประเทศไทยได้ประมาณ 1-2 ลูก เนื่องจากเป็นช่วงมรสุม จึงขอให้ประชาชนเตรียมความพร้อม โดยทางศูนย์เตือนภัยฯ จะพร้อมจะเฝ้าระวังแต่ทำการแจ้งเตือนประชาชนตลอดเวลา
น.อ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนความเร็วของพายุโซนร้อนนกเตน เบื้องต้นอยู่ที่ประมาณ 18 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะที่ความเร็วในการเคลื่อนตัวอยู่ที่ 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงถือว่ามีความรุนแรงไม่มาก และน้อยกว่าพายุไหหม่า ซึ่งพายุโซนร้อนนกเต็นจะเดินทางเข้าประเทศเวียดนามเท่านั้น แต่ประเทศไทยอาจจะได้รับอิทธิพลของพายุนกเต็นไม่มาก แต่หากจะมีอิทธิพลของพายุโซนร้อนนกเต็นเข้ามา ศภช.ก็จะทำหน้าที่เฝ้าระวัง และทำการแจ้งเตือน โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ที่ราบเชิงเขาภาคเหนือ ให้พร้อมอพยพไปในที่ปลอดภัย
ส่วนประชาชนที่อยู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ จ.สิงห์บุรี จ.อ่างทอง จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ปทุมธานี อาจได้รับผลกระทบจากกระแสน้ำที่สูงขึ้นบ้าง แต่ไม่ต้องวิตก และย้ำอีกว่า ถ้าพายุเข้ามาก็ยังดูอยู่ โดยทำงานประสานกับกรมชลประทาน และกรมอุตุนิยมวิทยาตลอด ซึ่งที่ผ่านมาได้ทำหนังสือถึงหลายหน่วยงานว่าตามสถิติช่วงเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน ให้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง เพราะอาจจะมีพายุเข้าประเทศไทยได้ประมาณ 1-2 ลูก เนื่องจากเป็นช่วงมรสุม จึงขอให้ประชาชนเตรียมความพร้อม โดยทางศูนย์เตือนภัยฯ จะพร้อมจะเฝ้าระวังแต่ทำการแจ้งเตือนประชาชนตลอดเวลา