ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หรือ เอแบคโพลล์ เผยผลวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง "ความต้องการของประชาชนต่อรัฐบาลชุดใหม่ ในการสร้างชาติโปร่งใส สร้างไทยซื่อตรง" จากตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 2,559 ตัวอย่าง พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 74.4 จะแจ้งความเอาผิดถ้าพบเห็นแกนนำชุมชนของตนทุจริตคอร์รัปชั่น รองลงมาร้อยละ 72.9 จะแจ้งความเอาผิดข้าราชการทุจริต และร้อยละ 72.2 จะแจ้งความเอาผิดนักการเมืองทุจริต
ทั้งนี้ หากจำแนกกลุ่มผู้ตอบตามลักษณะเฉพาะตัว จะพบว่า ผู้ชายร้อยละ 63.4 และผู้หญิงร้อยละ 65.4 ของทุกเพศทุกวัย ระดับรายได้ ทุกสาขาอาชีพ และการศึกษา ต่างยอมรับได้หากรัฐบาลทุจริตแล้วทำให้ชาติรุ่งเรือง ประชาชนกินดีอยู่ดี ตนได้รับประโยชน์ด้วย ที่น่าเป็นห่วงคือ ร้อยละ 71.0 ของกลุ่มเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี และร้อยละ 70.5 ของผู้มีอายุ 20-29 ปี ต่างยอมรับได้ถ้ารัฐบาลทุจริตแล้วเด็กและเยาวชนได้รับประโยชน์ด้วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์จากแนวคิดของ "กลุ่มต่อต้านคอร์รัปชั่นในทุกกรณี" ยอมรับไม่ได้ แม้รัฐบาลทุจริตคอร์รัปชั่นแล้วทำให้ชาติรุ่งเรือง ประชาชนอยู่ดีกินดี โดยร้อยละ 87.5 ต้องการให้เพิ่มโทษยึดทรัพย์นักการเมือง ข้าราชการ และเครือญาติที่รู้เห็นเป็นใจทุจริตคอร์รัปชั่น รองลงมาร้อยละ 87.0 ให้ลงโทษทั้งผู้ให้และผู้รับ
ทั้งนี้ หากจำแนกกลุ่มผู้ตอบตามลักษณะเฉพาะตัว จะพบว่า ผู้ชายร้อยละ 63.4 และผู้หญิงร้อยละ 65.4 ของทุกเพศทุกวัย ระดับรายได้ ทุกสาขาอาชีพ และการศึกษา ต่างยอมรับได้หากรัฐบาลทุจริตแล้วทำให้ชาติรุ่งเรือง ประชาชนกินดีอยู่ดี ตนได้รับประโยชน์ด้วย ที่น่าเป็นห่วงคือ ร้อยละ 71.0 ของกลุ่มเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี และร้อยละ 70.5 ของผู้มีอายุ 20-29 ปี ต่างยอมรับได้ถ้ารัฐบาลทุจริตแล้วเด็กและเยาวชนได้รับประโยชน์ด้วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์จากแนวคิดของ "กลุ่มต่อต้านคอร์รัปชั่นในทุกกรณี" ยอมรับไม่ได้ แม้รัฐบาลทุจริตคอร์รัปชั่นแล้วทำให้ชาติรุ่งเรือง ประชาชนอยู่ดีกินดี โดยร้อยละ 87.5 ต้องการให้เพิ่มโทษยึดทรัพย์นักการเมือง ข้าราชการ และเครือญาติที่รู้เห็นเป็นใจทุจริตคอร์รัปชั่น รองลงมาร้อยละ 87.0 ให้ลงโทษทั้งผู้ให้และผู้รับ