นายแพทย์วันชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากการเกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่ทางภาคเหนือ ได้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเฝ้าระวังและป้องกันควบคุมโรคที่มากับน้ำท่วมเป็นพิเศษ พร้อมออกคำแนะนำประชาชนที่ประสบภัย เตรียมพร้อมรับมือ 3 ระยะ คือ ระยะน้ำไหลบ่า หรือท่วมระยะแรก ให้ระวังจมน้ำ ถูกไฟดูด ไฟช๊อต สัตว์มีพิษกัด และบาดแผลติดเชื้อ ระยะน้ำท่วมขัง ระวังโรคตาแดง น้ำกัดเท้า อุจจาระร่วง และโรคทางเดินหายใจ และระยะน้ำลด ระวังการระบาดของโลกเลปโตสไปโรซิส หรือโรคฉี่หนู โรคไข้เลือดออก มาลาเรีย และไข้สมองอักเสบ
ทั้งนี้ โรคที่เป็นห่วงมากที่สุดคือ โรคฉี่หนู จากข้อมูลการเฝ้าระวังของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 24 มิถุนายน 2554 พบผู้ป่วยแล้ว 834 คน ใน 62 จังหวัด เสียชีวิต 16 ราย จึงเตือนประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมขัง และมีหนูชุกชุม อย่าย่ำน้ำ โดยเฉพาะเมื่อมีบาดแผลตามผิวหนัง คนที่ไม่มีแผล เมื่อย่ำน้ำแล้วต้องทำความสะอาดร่างกาย
สำหรับผู้ที่ป่วยโรคฉี่หนู จะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณน่อง และมีอาการตาแดง หากสงสัยป่วยด้วยโรคนี้ ควรรีบพบแพทย์ เพราะเมื่อรักษาเร็วสามารถหายได้
ทั้งนี้ โรคที่เป็นห่วงมากที่สุดคือ โรคฉี่หนู จากข้อมูลการเฝ้าระวังของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 24 มิถุนายน 2554 พบผู้ป่วยแล้ว 834 คน ใน 62 จังหวัด เสียชีวิต 16 ราย จึงเตือนประชาชนในพื้นที่น้ำท่วมขัง และมีหนูชุกชุม อย่าย่ำน้ำ โดยเฉพาะเมื่อมีบาดแผลตามผิวหนัง คนที่ไม่มีแผล เมื่อย่ำน้ำแล้วต้องทำความสะอาดร่างกาย
สำหรับผู้ที่ป่วยโรคฉี่หนู จะมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณน่อง และมีอาการตาแดง หากสงสัยป่วยด้วยโรคนี้ ควรรีบพบแพทย์ เพราะเมื่อรักษาเร็วสามารถหายได้