กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) แถลงวันพฤหัสบดี (19) ว่า โดมินิก สเตราส์-คาห์น ได้ยื่นจดหมายลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการแล้ว โดยให้เหตุผลว่า เขาต้องการอุทิศเวลาและพละกำลังทั้งหมดในการต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ว่าตนเองนั้นบริสุทธิ์ หลังถูกตั้งข้อหาทำร้ายร่างกายและพยายามข่มขืนพนักงานหญิงของโรงแรมในนิวยอร์กเมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว ขณะเดียวกัน ประเด็นเรื่องที่ใครจะเข้ามารับตำแหน่งต่อก็อยู่ในความสนใจของบรรดาชาติสมาชิกทันที โดยที่หลายประเทศโดยเฉพาะกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่ต้องการให้กระบวนการคัดสรรผู้นำคนใหม่เปิดกว้างและโปร่งใสขึ้น
สเตราส์-คาห์น เขียนในจดหมายลาออกถึงไอเอ็มเอฟ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม ระบุว่า “ผมขอยื่นจดหมายลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ต่อคณะกรรมการบริหารทุกท่าน ด้วยความเสียใจอย่างสุดซึ้ง”
การลาออกของสเตราส์-คาห์น ทำให้ศึกแย่งชิงเก้าอี้ที่เพิ่งว่างลงนี้เปิดฉากขึ้นอย่างเป็นทางการ หลังก่อนหน้านี้หมู่ชาติสมาชิกกองทุนไอเอ็มเอฟได้ถกประเด็นว่าใครเหมาะสมที่จะเข้ามารับช่วงต่อ ขณะที่มีบางส่วนตั้งคำถามด้วยว่า ถึงเวลาหรือยังที่จะสลัดธรรมเนียมปฏิบัติเก่าๆ ในการคัดสรรตัวผู้นำทิ้งไป เนื่องจากนับตั้งแต่ที่องค์การภาคการเงินระหว่างประเทศแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1945 เป็นต้นมา ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการทั้ง 10 คนล้วนมาจากยุโรปทั้งสิ้น โดยในจำนวนนี้มี 4 คน ที่เป็นคนฝรั่งเศสอีกด้วย
จีน, บราซิล และแอฟริกาใต้ ได้ออกมาเสนอแนะให้ไอเอ็มเอฟเปลี่ยนแปลงรูปแบบวิธีการใหม่ในการคัดเลือกผู้ที่จะมานั่งเก้าอี้กรรมการผู้จัดการ โดยที่เม็กซิโกกับญี่ปุ่นก็เป็น 2 ประเทศล่าสุดที่เรียกร้องให้กระบวนการคัดสรรเปิดกว้างมากขึ้นเช่นกัน
“ตามที่เห็นพ้องต้องกันในที่ประชุมจี-20 ผู้นำองค์การภาคการเงินระหว่างประเทศ ตลอดจนผู้นำระดับอาวุโสต่างๆ ควรได้รับการคัดเลือกบนพื้นฐานของความสามารถของแต่ละคน ภายใต้กระบวนการที่เปิดกว้างและโปร่งใส ด้วยเหตุนี้ ผมจึงคิดว่า บุคคลที่เหมาะสมควรถูกคัดสรรมาจากกระบวนการเช่นว่านี้” โยชิฮิโกะ โนดะ รัฐมนตรีคลังของญี่ปุ่น กล่าวภายหลังจากสเตราส์-คาห์น ลาออก
สเตราส์-คาห์น เขียนในจดหมายลาออกถึงไอเอ็มเอฟ ลงวันที่ 18 พฤษภาคม ระบุว่า “ผมขอยื่นจดหมายลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ต่อคณะกรรมการบริหารทุกท่าน ด้วยความเสียใจอย่างสุดซึ้ง”
การลาออกของสเตราส์-คาห์น ทำให้ศึกแย่งชิงเก้าอี้ที่เพิ่งว่างลงนี้เปิดฉากขึ้นอย่างเป็นทางการ หลังก่อนหน้านี้หมู่ชาติสมาชิกกองทุนไอเอ็มเอฟได้ถกประเด็นว่าใครเหมาะสมที่จะเข้ามารับช่วงต่อ ขณะที่มีบางส่วนตั้งคำถามด้วยว่า ถึงเวลาหรือยังที่จะสลัดธรรมเนียมปฏิบัติเก่าๆ ในการคัดสรรตัวผู้นำทิ้งไป เนื่องจากนับตั้งแต่ที่องค์การภาคการเงินระหว่างประเทศแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1945 เป็นต้นมา ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการทั้ง 10 คนล้วนมาจากยุโรปทั้งสิ้น โดยในจำนวนนี้มี 4 คน ที่เป็นคนฝรั่งเศสอีกด้วย
จีน, บราซิล และแอฟริกาใต้ ได้ออกมาเสนอแนะให้ไอเอ็มเอฟเปลี่ยนแปลงรูปแบบวิธีการใหม่ในการคัดเลือกผู้ที่จะมานั่งเก้าอี้กรรมการผู้จัดการ โดยที่เม็กซิโกกับญี่ปุ่นก็เป็น 2 ประเทศล่าสุดที่เรียกร้องให้กระบวนการคัดสรรเปิดกว้างมากขึ้นเช่นกัน
“ตามที่เห็นพ้องต้องกันในที่ประชุมจี-20 ผู้นำองค์การภาคการเงินระหว่างประเทศ ตลอดจนผู้นำระดับอาวุโสต่างๆ ควรได้รับการคัดเลือกบนพื้นฐานของความสามารถของแต่ละคน ภายใต้กระบวนการที่เปิดกว้างและโปร่งใส ด้วยเหตุนี้ ผมจึงคิดว่า บุคคลที่เหมาะสมควรถูกคัดสรรมาจากกระบวนการเช่นว่านี้” โยชิฮิโกะ โนดะ รัฐมนตรีคลังของญี่ปุ่น กล่าวภายหลังจากสเตราส์-คาห์น ลาออก