บรรดาผู้ใช้แรงงานทั่วโลกเข้าร่วมการชุมนุมเรียกร้องสิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมทั้ง ให้เพิ่มค่าแรง และปรับปรุงสภาพการทำงาน ตลอดจนปฏิรูปประชาธิปไตย เนื่องในวันแรงงาน ซึ่งตรงกับวันที่ 1 พฤษภาคม โดยที่รัสเซีย มีการประท้วงในหลายเมือง ตั้งแต่กรุงมอสโก จนถึงเมืองท่าวลาดิวอสต็อก ซึ่งแต่ละที่มีประชาชนนับแสนคนเข้าร่วมกับสหภาพแรงงาน และพรรคการเมืองบางพรรคประท้วงต่อต้านรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ส่วนที่ฝรั่งเศส สหภาพแรงงานใหญ่ 5 กลุ่มจัดการเดินขบวนประมาณ 200 ขบวนทั่วประเทศ รวมทั้งในกรุงปารีส เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลหามาตรการแก้ปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และใช้โอกาสนี้ ประณามความขัดแย้งทางด้านเชื้อชาติ
ที่เยอรมนี การชุมนุมเรียกร้องสิทธิของแรงงานกลายเป็นเหตุรุนแรง มีการปะทะกันระหว่างตำรวจกับผู้ประท้วงในเมืองฮัมบูร์ก ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 10 คน ส่วนที่ตรุกี ประชาชนกว่า 200,000 คน รวมตัวกันที่จัตุรัสทักซิมในนครอิสตันบูล เรียกร้องให้นายจ้างเพิ่มค่าแรงและปรับปรุงสภาพการทำงาน ถือเป็นการชุมนุมครั้งใหญ่ที่สุดที่จัตรุรัสแห่งนี้ นับตั้งแต่เกิดเหตุเหยียบกันตายของประชาชน 34 คน หลังมีเสียงปืนระหว่างการชุมนุมในวันแรงงานเมื่อปี 2520
ขณะที่สมาชิกสหภาพแรงงานของกรีซ จัดการเดินขบวนในกรุงเอเธนส์ เนื่องในวันแรงงาน แต่เพื่อประท้วงมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาล ที่ส่งผลให้มีคนตกงานกว่า 160,000 คน นับตั้งแต่รัฐบาลเริ่มใช้มาตรการดังกล่าว เพื่อลดค่าใช้จ่ายเมื่อเดือนเมษายน ปีที่แล้ว
สำหรับภูมิภาคเอเชีย มีการเดินขบวนเรียกร้องขอเพิ่มค่าแรง และขอให้นายจ้างปรับปรุงสภาพการทำงานให้ดีกว่าเดิมเช่นกัน โดยที่ญี่ปุ่นมีรายงานว่า สมาพันธ์แรงงาน หัวเอียงซ้ายหลายกลุ่ม เรียกร้องในการชุมนุมวันแรงงานให้ยกเลิกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในขณะที่หน่วยกู้ภัยกำลังหาทางควบคุมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะที่มีปัญหา นอกจากนี้ ยังมีการชุมนุมเรียกร้องให้เพิ่มค่าแรง และสวัสดิการทางด้านสังคมในอีกหลายประเทศ รวมทั้งเกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
ส่วนที่ฝรั่งเศส สหภาพแรงงานใหญ่ 5 กลุ่มจัดการเดินขบวนประมาณ 200 ขบวนทั่วประเทศ รวมทั้งในกรุงปารีส เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลหามาตรการแก้ปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และใช้โอกาสนี้ ประณามความขัดแย้งทางด้านเชื้อชาติ
ที่เยอรมนี การชุมนุมเรียกร้องสิทธิของแรงงานกลายเป็นเหตุรุนแรง มีการปะทะกันระหว่างตำรวจกับผู้ประท้วงในเมืองฮัมบูร์ก ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 10 คน ส่วนที่ตรุกี ประชาชนกว่า 200,000 คน รวมตัวกันที่จัตุรัสทักซิมในนครอิสตันบูล เรียกร้องให้นายจ้างเพิ่มค่าแรงและปรับปรุงสภาพการทำงาน ถือเป็นการชุมนุมครั้งใหญ่ที่สุดที่จัตรุรัสแห่งนี้ นับตั้งแต่เกิดเหตุเหยียบกันตายของประชาชน 34 คน หลังมีเสียงปืนระหว่างการชุมนุมในวันแรงงานเมื่อปี 2520
ขณะที่สมาชิกสหภาพแรงงานของกรีซ จัดการเดินขบวนในกรุงเอเธนส์ เนื่องในวันแรงงาน แต่เพื่อประท้วงมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาล ที่ส่งผลให้มีคนตกงานกว่า 160,000 คน นับตั้งแต่รัฐบาลเริ่มใช้มาตรการดังกล่าว เพื่อลดค่าใช้จ่ายเมื่อเดือนเมษายน ปีที่แล้ว
สำหรับภูมิภาคเอเชีย มีการเดินขบวนเรียกร้องขอเพิ่มค่าแรง และขอให้นายจ้างปรับปรุงสภาพการทำงานให้ดีกว่าเดิมเช่นกัน โดยที่ญี่ปุ่นมีรายงานว่า สมาพันธ์แรงงาน หัวเอียงซ้ายหลายกลุ่ม เรียกร้องในการชุมนุมวันแรงงานให้ยกเลิกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในขณะที่หน่วยกู้ภัยกำลังหาทางควบคุมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะที่มีปัญหา นอกจากนี้ ยังมีการชุมนุมเรียกร้องให้เพิ่มค่าแรง และสวัสดิการทางด้านสังคมในอีกหลายประเทศ รวมทั้งเกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย