หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ขึ้นทำฝนหลวงในพื้นที่ อ.หัวหิน ปราณบุรี สามร้อยยอด ทับสะแก และ อ.เมือง เพื่อเติมน้ำอ่างเก็บน้ำ หลังชาวบ้านประสบปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรง แต่การทำฝนหลวงยังไม่ประสบความสำเร็จ เพราะสภาพอากาศไม่มีความชื้น
จ.ประจวบคีรีขันธ์ กำลังประสบปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรง เนื่องจากฝนทิ้งช่วง ทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อน และอ่างเก็บน้ำหลายแห่งเริ่มแห้งขอด โดยเฉพาะอ่างช่องลม และอ่างจะกะ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำหลัก มีปริมาณน้ำเหลือน้อย ทำให้พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะ อ.ทับสะแก มีพื้นที่ประสบภัยแล้ง กว่า 65 หมู่บ้านใน 6 ตำบล ขณะนี้หลายหน่วยงานเร่งนำน้ำไปแจกจ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ขณะที่ในอนาคต ทาง อ.ทับสะแก มีโครงการเดินท่อขนาดใหญ่จาก อ่างน้ำจะกะ มายังจุดสวมต่อท่อของอ่างช่องลม ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 50 ล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งระยะยาว
ขณะที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แหล่งน้ำหลายแห่งแห้งขอด ไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร โดยเฉพาะแม่น้ำลำพะเนียง อ.นาด้วง จ.หนองบัวลำภู เกษตรกร กล่าวว่า หลังขุดลอกลำพะเนียง ทำให้แอ่งน้ำและแก่งหินถูกทำลาย คลองไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ จึงเรียกร้องให้ภาครัฐสร้างฝายเก็บกักน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง
ส่วนปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง ของ จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่าง แต่ไม่สามารถระบายลงแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อรักษาระบบนิเวศในลำน้ำมูลที่แห้งขอดหลายจุดใน อ.พิมาย ได้ โดยสำนักชลประทานที่ 8 จ.นครราชสีมา ระบุว่า จะส่งผลกระทบต่อแผนการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งจะกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ที่ต้องเผชิญปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง
จ.ประจวบคีรีขันธ์ กำลังประสบปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรง เนื่องจากฝนทิ้งช่วง ทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อน และอ่างเก็บน้ำหลายแห่งเริ่มแห้งขอด โดยเฉพาะอ่างช่องลม และอ่างจะกะ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำหลัก มีปริมาณน้ำเหลือน้อย ทำให้พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะ อ.ทับสะแก มีพื้นที่ประสบภัยแล้ง กว่า 65 หมู่บ้านใน 6 ตำบล ขณะนี้หลายหน่วยงานเร่งนำน้ำไปแจกจ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ขณะที่ในอนาคต ทาง อ.ทับสะแก มีโครงการเดินท่อขนาดใหญ่จาก อ่างน้ำจะกะ มายังจุดสวมต่อท่อของอ่างช่องลม ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 50 ล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งระยะยาว
ขณะที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แหล่งน้ำหลายแห่งแห้งขอด ไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตร โดยเฉพาะแม่น้ำลำพะเนียง อ.นาด้วง จ.หนองบัวลำภู เกษตรกร กล่าวว่า หลังขุดลอกลำพะเนียง ทำให้แอ่งน้ำและแก่งหินถูกทำลาย คลองไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ จึงเรียกร้องให้ภาครัฐสร้างฝายเก็บกักน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง
ส่วนปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง ของ จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่าง แต่ไม่สามารถระบายลงแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อรักษาระบบนิเวศในลำน้ำมูลที่แห้งขอดหลายจุดใน อ.พิมาย ได้ โดยสำนักชลประทานที่ 8 จ.นครราชสีมา ระบุว่า จะส่งผลกระทบต่อแผนการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งจะกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ที่ต้องเผชิญปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง