พ.อ.ดร. นาฬิกอติภัค แสงสนิท ผู้อำนวยการองค์การการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. กล่าวว่า การดำเนินงานของ อพท.ในปีนี้ จะเน้นการท่องเที่ยวแบบ Low Carbon Tourism หรือการท่องเที่ยวแบบลดคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเน้นการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมการท่องเที่ยวและการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น พร้อมๆ กับการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคี
สำหรับพื้นที่นำร่องที่จะดำเนินการคือ เกาะช้าง และพื้นที่เชื่อมโยง โดย อพท.ร่วมกับ สำนักงานความร่วมมือทางวิชาการเยอรมนี พัฒนากลไกและเครื่องมือในการจัดการ วางแผนการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนใน จ.ตราด ด้วยการอบรมความรู้เรื่องการจัดการขยะที่เกิดขึ้นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูการท่องเที่ยว มีการประมาณการว่า ช่วงเวลาปกติจะมีขยะบนเกาะช้าง ประมาณ 12-15 ตันต่อวัน ขณะที่ช่วงท่องเที่ยว จะมีขยะเพิ่มเป็นเท่าตัว ซึ่งจะต้องเสียค่ากำจัดขยะบนเกาะช้าง กว่า 10 ล้านบาทต่อปี
สำหรับพื้นที่นำร่องที่จะดำเนินการคือ เกาะช้าง และพื้นที่เชื่อมโยง โดย อพท.ร่วมกับ สำนักงานความร่วมมือทางวิชาการเยอรมนี พัฒนากลไกและเครื่องมือในการจัดการ วางแผนการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนใน จ.ตราด ด้วยการอบรมความรู้เรื่องการจัดการขยะที่เกิดขึ้นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงฤดูการท่องเที่ยว มีการประมาณการว่า ช่วงเวลาปกติจะมีขยะบนเกาะช้าง ประมาณ 12-15 ตันต่อวัน ขณะที่ช่วงท่องเที่ยว จะมีขยะเพิ่มเป็นเท่าตัว ซึ่งจะต้องเสียค่ากำจัดขยะบนเกาะช้าง กว่า 10 ล้านบาทต่อปี