นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเมื่อวันที่ 30 มกราคม ว่า จากการวิเคราะห์จำนวนผู้ป่วยจิตเวชที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต ทั่วประเทศ ในปี 2553 ซึ่งมีทั้งหมด 45,369 ราย ร้อยละ 68 เป็นชาย ในจำนวนนี้ เป็นผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต จากการใช้สารเสพติดเป็นเวลานาน จำนวน 2,626 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.79 แบ่งเป็นชาย 1,996 ราย หญิง 630 ราย
ทั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวอีกว่า ยาเสพติดที่ใช้อันดับ 1 คือ ยาบ้า ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากอดีต ในการบำบัดรักษาผู้ที่เสพสารเสพติด และมีอาการทางจิต จะมีความยุ่งยากกว่าผู้ที่เสพ แต่ยังไม่มีอาการ เนื่องจากสมอง จะถูกพิษสารเสพติดทำลายอย่างถาวร ดังนั้น ประชาชนไม่ควรพึ่งสารเสพติด เมื่อมีปัญหา เช่น ความเครียด นอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว ยังทำให้เกิดการติดยา ควรหาทางออกที่สร้างสรรค์ เช่น การออกกำลังกาย สามารถลดความเครียดได้ดีมาก และนอนหลับพักผ่อนได้ดียิ่งขึ้น หรือ อาจรวมกลุ่มบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม แทนการเสพสารเสพติด
ทั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวอีกว่า ยาเสพติดที่ใช้อันดับ 1 คือ ยาบ้า ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากอดีต ในการบำบัดรักษาผู้ที่เสพสารเสพติด และมีอาการทางจิต จะมีความยุ่งยากกว่าผู้ที่เสพ แต่ยังไม่มีอาการ เนื่องจากสมอง จะถูกพิษสารเสพติดทำลายอย่างถาวร ดังนั้น ประชาชนไม่ควรพึ่งสารเสพติด เมื่อมีปัญหา เช่น ความเครียด นอกจากจะไม่ได้ผลแล้ว ยังทำให้เกิดการติดยา ควรหาทางออกที่สร้างสรรค์ เช่น การออกกำลังกาย สามารถลดความเครียดได้ดีมาก และนอนหลับพักผ่อนได้ดียิ่งขึ้น หรือ อาจรวมกลุ่มบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม แทนการเสพสารเสพติด