นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจเอแบคเรียลไทม์โพลล์ เรื่อง ศึกษาปัจจัยที่มีผลทำให้กลุ่มพลังเงียบมีความสุขในช่วงการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 17 จังหวัดของประเทศ พบว่าปัจจัยสำคัญอันดับแรกที่ทำให้คนไทยมีความสุข คือ สภาวะเศรษฐกิจระดับครัวเรือน เรื่องปากท้อง การกินอยู่ในครอบครัว รองลงมา คือ สุขภาพจิตที่ดี และความเป็นธรรมในสังคม ความเป็นมาตรฐานเดียวกัน
ทั้งี้ ผลวิจัยพบว่ามีประชาชนไม่ถึงครึ่ง หรือร้อยละ 44.6 ที่มีความสุขต่อสภาวะเศรษฐกิจครัวเรือน ขณะที่มีเพียงร้อยละ 25.1 ที่มีความสุขต่อความเป็นธรรมในสังคม ความเป็นมาตรฐานเดียวกัน และเพียงร้อยละ 11.7 ที่มีความสุขต่อบรรยากาศทางการเมืองในขณะนี้
ส่วนความในใจที่อยากบอกกับกลุ่มผู้ชุมนุม ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 82.7 ขอให้ชุมนุมโดยสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรง และร้อยละ 78.5 ขอให้ผู้ชุมนุมให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อให้การชุมนุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ทั้งี้ ผลวิจัยพบว่ามีประชาชนไม่ถึงครึ่ง หรือร้อยละ 44.6 ที่มีความสุขต่อสภาวะเศรษฐกิจครัวเรือน ขณะที่มีเพียงร้อยละ 25.1 ที่มีความสุขต่อความเป็นธรรมในสังคม ความเป็นมาตรฐานเดียวกัน และเพียงร้อยละ 11.7 ที่มีความสุขต่อบรรยากาศทางการเมืองในขณะนี้
ส่วนความในใจที่อยากบอกกับกลุ่มผู้ชุมนุม ประชาชนส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 82.7 ขอให้ชุมนุมโดยสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรง และร้อยละ 78.5 ขอให้ผู้ชุมนุมให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อให้การชุมนุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย