นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง พบว่าประเทศไทยแม้จะเพิ่งเข้าสู่ฤดูร้อน แต่หมู่บ้านประสบภัยแล้งเพิ่มมากว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา กว่าร้อยละ 40 ซึ่งเป็นสัญญาณชี้ให้เห็นว่า ปีนี้ประเทศไทยจะประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอย่างหนัก
ดังนั้นเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือปัญหาภัยแล้งที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น ปภ.ได้เร่งวางแผนแก้ไขปัญหา โดยกำหนด 7 มาตรการเร่งด่วนแก้ไขวิกฤตภัยแล้ง ให้จังหวัดดำเนินการเพิ่มเติม ด้วยการจัดหาน้ำอุปโภคบริโภค สำหรับในเขตเมืองให้ประเมินปริมาณน้ำต้นทุนที่นำมาผลิตน้ำประปา และวางแผนรองรับกรณีขาดแคลน ส่วนเขตชนบท ให้เร่งซ่อมบำรุง จัดหาแหล่งน้ำสำรองสำหรับระบบประปาหมู่บ้าน กำหนดจุดแจกจ่ายน้ำประจำหมู่บ้าน จัดหาน้ำเพื่อการเกษตร โดยยึดมาตรการส่งเสริมการปลูกพืชหน้าแล้งเป็นหลัก พร้อมควบคุมพื้นที่ทำนาปรัง รวมถึงประสานสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ออกปฏิบัติการฝนหลวงทันทีที่สภาพอากาศเอื้ออำนวย สร้างรายได้และส่งเสริมอาชีพระยะสั้น ประสานให้ท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐ จ้างแรงงานในหมู่บ้าน เพื่อสร้างรายได้แก่ราษฎร และป้องกันการอพยพเข้าไปหางานทำในเมือง ดูแลรักษาสุขภาพและสุขอนามัย ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพ ไม่บริโภคอาหารและน้ำไม่สะอาด เพื่อป้องกันโรคระบาดในฤดูร้อน ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จัดทำแผนป้องกันและปราบปรามโจรผู้ร้าย เพื่อไม่ให้ผู้ประสบภัยได้รับความเดือดร้อนซ้ำเติมอีก เปิดสายด่วนภัยแล้ง เป็นช่องทางให้ผู้ประสบภัยประสานขอความช่วยเหลือ และเตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติอื่นในฤดูร้อน
โดยเร่งวางแผนป้องกันและกำหนดแนวทางช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุฤดูร้อน อัคคีภัย หมอกควันและไฟป่า รวมถึงรณรงค์ให้ประชาชนร่วมเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติในฤดูร้อน
ดังนั้นเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือปัญหาภัยแล้งที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น ปภ.ได้เร่งวางแผนแก้ไขปัญหา โดยกำหนด 7 มาตรการเร่งด่วนแก้ไขวิกฤตภัยแล้ง ให้จังหวัดดำเนินการเพิ่มเติม ด้วยการจัดหาน้ำอุปโภคบริโภค สำหรับในเขตเมืองให้ประเมินปริมาณน้ำต้นทุนที่นำมาผลิตน้ำประปา และวางแผนรองรับกรณีขาดแคลน ส่วนเขตชนบท ให้เร่งซ่อมบำรุง จัดหาแหล่งน้ำสำรองสำหรับระบบประปาหมู่บ้าน กำหนดจุดแจกจ่ายน้ำประจำหมู่บ้าน จัดหาน้ำเพื่อการเกษตร โดยยึดมาตรการส่งเสริมการปลูกพืชหน้าแล้งเป็นหลัก พร้อมควบคุมพื้นที่ทำนาปรัง รวมถึงประสานสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ออกปฏิบัติการฝนหลวงทันทีที่สภาพอากาศเอื้ออำนวย สร้างรายได้และส่งเสริมอาชีพระยะสั้น ประสานให้ท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐ จ้างแรงงานในหมู่บ้าน เพื่อสร้างรายได้แก่ราษฎร และป้องกันการอพยพเข้าไปหางานทำในเมือง ดูแลรักษาสุขภาพและสุขอนามัย ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพ ไม่บริโภคอาหารและน้ำไม่สะอาด เพื่อป้องกันโรคระบาดในฤดูร้อน ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จัดทำแผนป้องกันและปราบปรามโจรผู้ร้าย เพื่อไม่ให้ผู้ประสบภัยได้รับความเดือดร้อนซ้ำเติมอีก เปิดสายด่วนภัยแล้ง เป็นช่องทางให้ผู้ประสบภัยประสานขอความช่วยเหลือ และเตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติอื่นในฤดูร้อน
โดยเร่งวางแผนป้องกันและกำหนดแนวทางช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุฤดูร้อน อัคคีภัย หมอกควันและไฟป่า รวมถึงรณรงค์ให้ประชาชนร่วมเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติในฤดูร้อน