ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรตลอดวันนี้ (3 มี.ค.) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน ซึ่งสมาชิกอภิปรายกันอย่างกว้างขวางต่อสาระสำคัญของกฎหมาย ที่พบว่า สภาพการจ้างงานเปลี่ยนไปจากเดิม นายจ้างมีการจ้างงานให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านมากขึ้น ซึ่งผู้รับงานเหล่านี้จัดเป็นแรงงานนอกระบบ ขาดความคุ้มครองด้านกฎหมาย โดยเฉพาะการเอาเปรียบเรื่องค่าจ้างแรงงานและค่ารักษาพยาบาล
ก่อนหน้านี้ ที่ประชุมพิจารณาและผ่านความเห็นชอบเรียงตามมาตรา ซึ่งคงตามความเห็นของคณะกรรมาธิการเสียงข้างมาก เช่น มาตรา 4 กำหนดให้มีอาสาสมัครแรงงาน เป็นผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยพนักงานตรวจแรงงาน เพราะปัจจุบันมีพนักงานตรวจแรงงานน้อยไม่เพียงพอกับผู้รับงานไปทำที่บ้าน มาตรา 7 กำหนดให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานให้ความช่วยเหลือเข้าดำเนินคดี แทนผู้รับงานไปทำที่บ้าน หากได้รับการร้องขอ และมาตรา 8 กำหนดให้ข้อพิพาทระหว่างผู้จ้างงานและผู้รับงานไปทำที่บ้านให้อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงาน
ทั้งนี้ คาดว่าที่ประชุมฯ จะพยายามพิจารณาผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ให้ทันภายในวันนี้ เนื่องจากสัปดาห์หน้า มีกฎหมายค้างการประชุมที่สำคัญ เช่น ร่างพระราชบัญญัติจัดสรรคลื่นความถี่
ก่อนหน้านี้ ที่ประชุมพิจารณาและผ่านความเห็นชอบเรียงตามมาตรา ซึ่งคงตามความเห็นของคณะกรรมาธิการเสียงข้างมาก เช่น มาตรา 4 กำหนดให้มีอาสาสมัครแรงงาน เป็นผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยพนักงานตรวจแรงงาน เพราะปัจจุบันมีพนักงานตรวจแรงงานน้อยไม่เพียงพอกับผู้รับงานไปทำที่บ้าน มาตรา 7 กำหนดให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานให้ความช่วยเหลือเข้าดำเนินคดี แทนผู้รับงานไปทำที่บ้าน หากได้รับการร้องขอ และมาตรา 8 กำหนดให้ข้อพิพาทระหว่างผู้จ้างงานและผู้รับงานไปทำที่บ้านให้อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลแรงงาน
ทั้งนี้ คาดว่าที่ประชุมฯ จะพยายามพิจารณาผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ให้ทันภายในวันนี้ เนื่องจากสัปดาห์หน้า มีกฎหมายค้างการประชุมที่สำคัญ เช่น ร่างพระราชบัญญัติจัดสรรคลื่นความถี่