สำนักข่าวเดลี่ เมล์ ของอังกฤษ รายงานข่าวว่า สวนเสือ ในเมืองกุ้ยหลิน มณฑลกวางซี ภาคใต้ของจีน ถูกเลี้ยงในสภาพที่น่าสงสาร โดยปล่อยให้ค่อยๆ ตาย เพราะว่า ถ้าเสือตายจะทำเงินยิ่งกว่าตอนเป็น โดยเฉพาะกระดูกที่นำไปทำเหล้ายาดอง ขายได้ขวดละ 60-185 ปอนด์ หรือราว 3,100-9,600 บาท
ริชาร์ด โจนส์ นักข่าว ของเดลี่ เมล์ รายงานว่า ช่วงที่ไปสำรวจสภาพเสือในสวนเสือเซียงเสิ่น ไทเกอร์ แอนด์ แบร์ เมาน์เทน พบเสือตัวผู้ตัวหนึ่งนอนตัวผอมแห้ง หนังติดกระดูก มีแผลที่ไม่ได้รับการรักษา
เจ้าหน้าที่หญิงของอุทยาน กล่าวว่า นักท่องเที่ยวที่มาดูมันต่างถอนใจด้วยความสงสาร เราต้องให้อาหารมันต่อไป จนกว่ามันจะจากไป เพราะมีกฎหมายห้ามฆ่าเสือ
ตามความเห็นของโจนส์ เสือเหล่านี้ดูเหมือนจะถูกเลี้ยงแบบทิ้งๆ ขว้างๆ เพื่อให้มันตายอย่างช้าๆ ในพื้นที่นอกจุดที่นักท่องเที่ยวเข้าชม เสือถูกเก็บไว้ในกรงคอนกรีตรอบด้าน ทั้งเล็กและมืด มีช่องหน้าต่างนิดเดียว บางห้องอัดเสือเข้าไปอยู่ 4 ตัว มีบางตัวนอนตัวงอ ติดกรงแคบๆ จนคอมันบิดเบี้ยว บางตัวเป็นเนื้องอก อีกตัวตาบอดข้างหนึ่ง นอนนิ่งไม่ไหวติง ซึ่งเสือในสถานที่นี้มี 1,500 ตัว แทนที่ครึ่งหนึ่งจะอยู่ในป่า กลับต้องมีชีวิตอยู่ในสภาพเลวร้าย
อุทยานเซียงเสิ่น และอุทยานอื่นๆ ที่คล้ายกันนี้ อาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย ใช้กระดูกเสือที่ตายแล้วผลิตเหล้าเป็นยาบำรุงได้ ตามความเชื่อว่าจะช่วยรักษารูมาตอยด์ และโรคข้อเสื่อม ทำให้อายุยืนยาว
ด้าน เดบบี้ แบงส์ โฆษกหญิงของสำนักงานสอบสวนด้านสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า เคยร้องเรียนไปถึงรัฐบาลจีน เจ้าหน้าที่กลับทำเป็นหูทวนลม ทั้งยังว่า องค์กรของเราเข้าไปแทรกแซง กรณีของอุทยานกุ้ยหลิน ได้เงินจากรัฐ 36 ล้านบาท ไปสร้างกรงใหม่ที่อ้างว่า เพื่อการวิจัยเสือ
ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวปรากฏเป็นข่าวในนิวยอร์กไทมส์ สื่อสหรัฐฯ เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2553 ว่า สวนเสือแห่งนี้ เคยตกเป็นข่าวฉาวเมื่อ 2 ปีก่อน ว่าขายเนื้อเสือให้ภัตตาคาร มาตอนนี้เลี่ยงใช้คำว่า เสือบนฉลากเหล้า เป็นคำว่า กระดูกสัตว์หายาก แทน เมื่อติดต่อสอบถามไปยังเจ้าของบริษัทผลิตเหล้า ไม่รับสาย ให้พนักงานมายืนยันว่า ไม่ได้ใช้เสือเป็นส่วนผสมในขวดเหล้าที่ผลิตปีละ 2 แสนขวด
ริชาร์ด โจนส์ นักข่าว ของเดลี่ เมล์ รายงานว่า ช่วงที่ไปสำรวจสภาพเสือในสวนเสือเซียงเสิ่น ไทเกอร์ แอนด์ แบร์ เมาน์เทน พบเสือตัวผู้ตัวหนึ่งนอนตัวผอมแห้ง หนังติดกระดูก มีแผลที่ไม่ได้รับการรักษา
เจ้าหน้าที่หญิงของอุทยาน กล่าวว่า นักท่องเที่ยวที่มาดูมันต่างถอนใจด้วยความสงสาร เราต้องให้อาหารมันต่อไป จนกว่ามันจะจากไป เพราะมีกฎหมายห้ามฆ่าเสือ
ตามความเห็นของโจนส์ เสือเหล่านี้ดูเหมือนจะถูกเลี้ยงแบบทิ้งๆ ขว้างๆ เพื่อให้มันตายอย่างช้าๆ ในพื้นที่นอกจุดที่นักท่องเที่ยวเข้าชม เสือถูกเก็บไว้ในกรงคอนกรีตรอบด้าน ทั้งเล็กและมืด มีช่องหน้าต่างนิดเดียว บางห้องอัดเสือเข้าไปอยู่ 4 ตัว มีบางตัวนอนตัวงอ ติดกรงแคบๆ จนคอมันบิดเบี้ยว บางตัวเป็นเนื้องอก อีกตัวตาบอดข้างหนึ่ง นอนนิ่งไม่ไหวติง ซึ่งเสือในสถานที่นี้มี 1,500 ตัว แทนที่ครึ่งหนึ่งจะอยู่ในป่า กลับต้องมีชีวิตอยู่ในสภาพเลวร้าย
อุทยานเซียงเสิ่น และอุทยานอื่นๆ ที่คล้ายกันนี้ อาศัยช่องโหว่ของกฎหมาย ใช้กระดูกเสือที่ตายแล้วผลิตเหล้าเป็นยาบำรุงได้ ตามความเชื่อว่าจะช่วยรักษารูมาตอยด์ และโรคข้อเสื่อม ทำให้อายุยืนยาว
ด้าน เดบบี้ แบงส์ โฆษกหญิงของสำนักงานสอบสวนด้านสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า เคยร้องเรียนไปถึงรัฐบาลจีน เจ้าหน้าที่กลับทำเป็นหูทวนลม ทั้งยังว่า องค์กรของเราเข้าไปแทรกแซง กรณีของอุทยานกุ้ยหลิน ได้เงินจากรัฐ 36 ล้านบาท ไปสร้างกรงใหม่ที่อ้างว่า เพื่อการวิจัยเสือ
ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวปรากฏเป็นข่าวในนิวยอร์กไทมส์ สื่อสหรัฐฯ เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2553 ว่า สวนเสือแห่งนี้ เคยตกเป็นข่าวฉาวเมื่อ 2 ปีก่อน ว่าขายเนื้อเสือให้ภัตตาคาร มาตอนนี้เลี่ยงใช้คำว่า เสือบนฉลากเหล้า เป็นคำว่า กระดูกสัตว์หายาก แทน เมื่อติดต่อสอบถามไปยังเจ้าของบริษัทผลิตเหล้า ไม่รับสาย ให้พนักงานมายืนยันว่า ไม่ได้ใช้เสือเป็นส่วนผสมในขวดเหล้าที่ผลิตปีละ 2 แสนขวด