เนื่องจากวันที่ 4 กุมภาพันธ์ เป็นวันมะเร็งโลก โดยจากข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าตั้งแต่ปี 2548-2550 คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งสูงสุดเป็นอันดับ 1 โดยเฉพาะในปี 2550 มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งสูงถึง 53,434 คน และพบว่าทุกๆ 1 ชั่วโมง จะมีผู้เสียชีวิต 6 คน
ขณะที่ปี 2551 พบคนไทยป่วยเป็นมะเร็งมากกว่า 120,000 คน โดยชายไทยเป็นมะเร็งตับมากที่สุด รองลงมา คือ มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ ส่วนผู้หญิงไทยเป็นมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด รองลงมา คือ มะเร็งเต้านม และมะเร็งปอด โดยผู้ที่เสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 80 พบแพทย์เมื่อมะเร็งลุกลามไปแล้ว หากตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มแรก โอกาสหายขาดจะมีมากถึงร้อยละ 80-90 ซึ่งแนวโน้มผู้ป่วยโรคมะเร็งมีสูงขึ้นทุกปี และกว่าร้อยละ 70 ของโรคนี้เกิดจากสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นมลภาวะที่มีเพิ่มมากขึ้น สารพิษที่ปนเปื้อนในอาหาร ความเครียดภายในจิตใจที่เกิดจากการดำเนินชีวิต ปัญหาเศรษฐกิจและปากท้อง
ขณะที่ปี 2551 พบคนไทยป่วยเป็นมะเร็งมากกว่า 120,000 คน โดยชายไทยเป็นมะเร็งตับมากที่สุด รองลงมา คือ มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ ส่วนผู้หญิงไทยเป็นมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด รองลงมา คือ มะเร็งเต้านม และมะเร็งปอด โดยผู้ที่เสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 80 พบแพทย์เมื่อมะเร็งลุกลามไปแล้ว หากตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มแรก โอกาสหายขาดจะมีมากถึงร้อยละ 80-90 ซึ่งแนวโน้มผู้ป่วยโรคมะเร็งมีสูงขึ้นทุกปี และกว่าร้อยละ 70 ของโรคนี้เกิดจากสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นมลภาวะที่มีเพิ่มมากขึ้น สารพิษที่ปนเปื้อนในอาหาร ความเครียดภายในจิตใจที่เกิดจากการดำเนินชีวิต ปัญหาเศรษฐกิจและปากท้อง