สภาพน้ำเน่าเสียที่เกิดขึ้นหลายจุดในกว๊านพะเยา จ.พะเยา กำลังกลายเป็นปัญหาให้กับชาวประมงพื้นบ้าน ที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าว เนื่องจากจับปลาได้น้อยลง และมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น ชาวประมง เปิดเผยว่า ปริมาณปลาที่ลดลงเกิดจากการแพร่กระจายของวัชพืชและผักตบชวาอย่างรวดเร็ว จนทำให้น้ำตื้นเขิน นอกจากนั้นยังมีการปล่อยน้ำเสียลงสู่กว๊านพะเยาโดยไม่ผ่านการบำบัด ทั้งจากบ้านเรือนประชาชน ร้านค้า และหน่วยงานราชการ
ล่าสุด ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ประกาศเป็นวาระของจังหวัดที่ต้องแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน หลังจากสำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาค 2 จ.ลำปาง ระบุว่า สถานการณ์น้ำเน่าเสียของกว๊านพะเยาอยู่ในระดับ 5 ซึ่งเป็นระดับที่เสื่อมโทรมที่สุด
กว๊านพะเยามีพื้นที่กว่า 16,500 ไร่ โดยประมง จ.พะเยา กันเป็นพื้นที่น้ำเพื่อใช้ในการเพาะพันธุ์และขยายพันธุ์สัตว์น้ำ จำนวน 12,000 ไร่ นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งผลิตน้ำประปาที่สำคัญ ไปยังพื้นที่ อ.เมือง ดอกคำใต้ และภูกามยาว
ล่าสุด ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ประกาศเป็นวาระของจังหวัดที่ต้องแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน หลังจากสำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาค 2 จ.ลำปาง ระบุว่า สถานการณ์น้ำเน่าเสียของกว๊านพะเยาอยู่ในระดับ 5 ซึ่งเป็นระดับที่เสื่อมโทรมที่สุด
กว๊านพะเยามีพื้นที่กว่า 16,500 ไร่ โดยประมง จ.พะเยา กันเป็นพื้นที่น้ำเพื่อใช้ในการเพาะพันธุ์และขยายพันธุ์สัตว์น้ำ จำนวน 12,000 ไร่ นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งผลิตน้ำประปาที่สำคัญ ไปยังพื้นที่ อ.เมือง ดอกคำใต้ และภูกามยาว