น.พ.วุฒิไกร ศักดิ์สุรกานต์ นายแพทย์สาธารณสุข จ.พิษณุโลก ได้เรียกประชุมผู้บริหารโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนในพื้นที่ ชี้แจงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 หลังมีประชาชนอยู่ในกลุ่มเสี่ยงกว่า 44,000 คน โดย น.พ.วุฒิไกร ระบุว่า เจ้าหน้าที่ต้องทำความเข้าใจกับชาวบ้านก่อน เพราะหากเกิดผลข้างเคียงทางโรงพยาบาลจะไม่รับผิดชอบ และต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจของผู้รับวัคซีนเท่านั้น ส่วนผู้พิการจะต้องมีผู้นำมา โดยจะรอดูอาการ 30 นาที หากไม่มีสิ่งผิดปกติจะอนุญาตให้กลับบ้าน คาดว่าจะเริ่มฉีดวัคซีนได้ในวันพรุ่งนี้
ขณะที่สำนักงานสาธารณสุข จ.พังงา เตรียมฉีดวัคซีนให้กับเจ้าหน้าที่ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น พยาบาล แพทย์ เจ้าหน้าที่คัดกรอง และหญิงตั้งครรภ์เกินกว่า 3 เดือน โดยทางโรงพยาบาลพังงาจะเริ่มการฉีดวัคซีนให้กับเจ้าหน้าที่กลุ่มเสี่ยงในช่วงบ่ายวันนี้
ส่วนที่โรงพยาบาลตะกั่วป่า ได้เริ่มฉีดวัคซีนให้กับเจ้าหน้าที่กลุ่มเสี่ยงแล้ว ส่วนสาเหตุที่เริ่มฉีดวัคซีนล่าช้า เจ้าหน้าที่อ้างว่าเพิ่งได้รับวัคซีนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
ในขณะที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จ.นครราชสีมา ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ให้กับกลุ่มเสี่ยง คือหญิงตั้งครรภ์ แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลขามทะเลสอ อ.ขามทะเลสอ จำนวน 366 คน เป็นแห่งแรก คาดว่า จ.นครราชสีมาจะฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเสี่ยงได้ทั้งหมดภายในสิ้นเดือนมีนาคมนี้ โดย จ.นครราชสีมามีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ตั้งแต่ปี 2552 จนปัจจุบันกว่า 15,000 คน เสียชีวิต 6 คน ขณะที่หญิงตั้งครรภ์ใน จ.บุรีรัมย์เองได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่โรงพยาบาลศูนย์บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่รับบริการเป็นกลุ่มแรก โดย จ.บุรีรัมย์ได้ฉีดวัคซีนเพื่อนำมาฉีดให้กลุ่มเสี่ยงกว่า 32,000 คน
ขณะที่สำนักงานสาธารณสุข จ.พังงา เตรียมฉีดวัคซีนให้กับเจ้าหน้าที่ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น พยาบาล แพทย์ เจ้าหน้าที่คัดกรอง และหญิงตั้งครรภ์เกินกว่า 3 เดือน โดยทางโรงพยาบาลพังงาจะเริ่มการฉีดวัคซีนให้กับเจ้าหน้าที่กลุ่มเสี่ยงในช่วงบ่ายวันนี้
ส่วนที่โรงพยาบาลตะกั่วป่า ได้เริ่มฉีดวัคซีนให้กับเจ้าหน้าที่กลุ่มเสี่ยงแล้ว ส่วนสาเหตุที่เริ่มฉีดวัคซีนล่าช้า เจ้าหน้าที่อ้างว่าเพิ่งได้รับวัคซีนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
ในขณะที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จ.นครราชสีมา ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ให้กับกลุ่มเสี่ยง คือหญิงตั้งครรภ์ แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลขามทะเลสอ อ.ขามทะเลสอ จำนวน 366 คน เป็นแห่งแรก คาดว่า จ.นครราชสีมาจะฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเสี่ยงได้ทั้งหมดภายในสิ้นเดือนมีนาคมนี้ โดย จ.นครราชสีมามีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ตั้งแต่ปี 2552 จนปัจจุบันกว่า 15,000 คน เสียชีวิต 6 คน ขณะที่หญิงตั้งครรภ์ใน จ.บุรีรัมย์เองได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่โรงพยาบาลศูนย์บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่รับบริการเป็นกลุ่มแรก โดย จ.บุรีรัมย์ได้ฉีดวัคซีนเพื่อนำมาฉีดให้กลุ่มเสี่ยงกว่า 32,000 คน