นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกันแถลงข่าว การเตรียมความพร้อมโรงพยาบาลรับอุบัติเหตุเทศกาลปีใหม่ 2553 โดยนายวิทยา ระบุว่า จากสถิติอุบัติเหตุทางถนนเทศกาลปีใหม่ 2552 สะสม 7 วัน มีผู้เสียชีวิต 367 ราย บาดเจ็บ 4,107 รายร้อยละ 84 เกิดจากผู้ใช้รถจักรยานยนตร์และเมาสุรา
อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบนโยบายสาธารณสุขทุกจังหวัด รณรงค์ให้ความรู้จัดตั้งศูนย์อำนวยความปลอดภัยแก่ประชาชน และตรวจสอบร้านจำหน่ายสุราระหว่างการเดินทาง โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม - 4 มกราคม 2553 ในช่วง 7 วันขับขี่ปลอดภัยเทิศไท้องค์ราชัน
นอกจากนี้ ยังได้เตรียมความพร้อมทีมแพทย์กู้ชีพ กว่า 10,000 ทีม พร้อมเครื่องมือช่วยชีวิต ประจำทั้งในตัวเมืองและต่างจังหวัด ซึ่งทีมกู้ชีพจะถึงที่เกิดเหตุภายใน 10 นาที และได้กำชับสถานพยาบาลในสังกัดเพิ่มกำลังแพทย์เป็น 2 เท่า พร้อมทั้งจัดความพร้อมห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด ไอซียู สำรองคลังเลือดให้ครบทุกหมู่ และจัดทีมแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านอุบัติเหตุประจำการที่ห้องฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้การดูแลผู้บาดเจ็บในรายที่มีอาการหนักได้อย่างทันท่วงที โดยกระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าว่า จะสามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตหลังการรักษาให้ต่ำกว่าร้อยละ 2
ด้านนายแพทย์ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า ได้ประสานไปยังหน่วยงานทุกภาคส่วน เพื่อสำเลียงขนส่งผู้ประสบอุบัติเหตุโดยทางบกได้เตรียมชุดปฏิบัติการเบื้องต้น ( First Response) จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประมาณ 8,000 แห่งจากมูลนิธิต่างๆ 2,000 คัน ทางอากาศได้ความร่วมมือกับกระทรวงกลาโหม สถาบันตำรวจแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โครงการฝนหลวงและโรงพยาบาลเอกชน เพื่อขอสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงผู้ป่วยอย่างเร่งด่วน และทางน้ำได้ประสานขอรับการสนับสนุนเรือกู้ชีพจากหน่วยงานต่างๆ นอกจากนี้ ยังได้จัดทำปฏิทินพกพาและสติกเกอร์เจ็บป่วยฉุกเฉินโทร 1,669 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมงไว้ให้บริการแก่ประชาชนด้วย
อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบนโยบายสาธารณสุขทุกจังหวัด รณรงค์ให้ความรู้จัดตั้งศูนย์อำนวยความปลอดภัยแก่ประชาชน และตรวจสอบร้านจำหน่ายสุราระหว่างการเดินทาง โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม - 4 มกราคม 2553 ในช่วง 7 วันขับขี่ปลอดภัยเทิศไท้องค์ราชัน
นอกจากนี้ ยังได้เตรียมความพร้อมทีมแพทย์กู้ชีพ กว่า 10,000 ทีม พร้อมเครื่องมือช่วยชีวิต ประจำทั้งในตัวเมืองและต่างจังหวัด ซึ่งทีมกู้ชีพจะถึงที่เกิดเหตุภายใน 10 นาที และได้กำชับสถานพยาบาลในสังกัดเพิ่มกำลังแพทย์เป็น 2 เท่า พร้อมทั้งจัดความพร้อมห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด ไอซียู สำรองคลังเลือดให้ครบทุกหมู่ และจัดทีมแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านอุบัติเหตุประจำการที่ห้องฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้การดูแลผู้บาดเจ็บในรายที่มีอาการหนักได้อย่างทันท่วงที โดยกระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าว่า จะสามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตหลังการรักษาให้ต่ำกว่าร้อยละ 2
ด้านนายแพทย์ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า ได้ประสานไปยังหน่วยงานทุกภาคส่วน เพื่อสำเลียงขนส่งผู้ประสบอุบัติเหตุโดยทางบกได้เตรียมชุดปฏิบัติการเบื้องต้น ( First Response) จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประมาณ 8,000 แห่งจากมูลนิธิต่างๆ 2,000 คัน ทางอากาศได้ความร่วมมือกับกระทรวงกลาโหม สถาบันตำรวจแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โครงการฝนหลวงและโรงพยาบาลเอกชน เพื่อขอสนับสนุนเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงผู้ป่วยอย่างเร่งด่วน และทางน้ำได้ประสานขอรับการสนับสนุนเรือกู้ชีพจากหน่วยงานต่างๆ นอกจากนี้ ยังได้จัดทำปฏิทินพกพาและสติกเกอร์เจ็บป่วยฉุกเฉินโทร 1,669 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมงไว้ให้บริการแก่ประชาชนด้วย