นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) เปิดเผยว่า มีต่างชาติหลายรายสนใจลงทุนผลิตอุตสาหกรรมต้นน้ำแผงโซลาร์เซลล์ในไทย ทั้งจากไต้หวัน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น หากนโยบายรัฐเอื้ออำนวย จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนได้ และจะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางพลังงานทดแทน ไม่ว่าจะเป็นไบโอดีเซล แก๊สโซฮอล์ การผลิตโซลาร์เซลล์ด้วย
ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าไทยจะมีโรงงานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ประมาณ 50-100 เมกะวัตต์ต่อปี ขณะที่ตามแผนอนุรักษ์พลังงาน 15 ปี จะมีโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ 500 เมกะวัตต์ และพลังงานลม 800 เมกะวัตต์ ส่วนต้นทุนผลิตแผงโซลาร์เซลล์ ในช่วง 6 ปี ได้ปรับลดลงมามาก จากภาวะเศรษฐกิจ และการพัฒนาเทคโนโลยี จากราคาแผงละ 9 ดอลลาร์ ลดลงเหลือประมาณ 2-3 ดอลลาร์ ทำให้มีผู้สนใจสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่จำนวนมาก
นายไกรฤทธิ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังศึกษาตัวเลขการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพระดับชุมชน ซึ่งจะเกิดประโยชน์ ทั้งการกำจัดขยะ และได้ก๊าซชีวภาพนำไปผลิตไฟฟ้าทดแทนก๊าซแอลพีจี หรือใช้ประโยชน์อื่นๆ โดยขณะนี้กำลังพิจารณาพื้นที่ชุมชนที่มีศักยภาพ และจะเสนอของบประมาณจากโครงการไทยเข้มแข็ง เพราะโครงการนี้เป็นการสร้างงานในชุมชน
ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าไทยจะมีโรงงานไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ประมาณ 50-100 เมกะวัตต์ต่อปี ขณะที่ตามแผนอนุรักษ์พลังงาน 15 ปี จะมีโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ 500 เมกะวัตต์ และพลังงานลม 800 เมกะวัตต์ ส่วนต้นทุนผลิตแผงโซลาร์เซลล์ ในช่วง 6 ปี ได้ปรับลดลงมามาก จากภาวะเศรษฐกิจ และการพัฒนาเทคโนโลยี จากราคาแผงละ 9 ดอลลาร์ ลดลงเหลือประมาณ 2-3 ดอลลาร์ ทำให้มีผู้สนใจสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่จำนวนมาก
นายไกรฤทธิ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังศึกษาตัวเลขการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพระดับชุมชน ซึ่งจะเกิดประโยชน์ ทั้งการกำจัดขยะ และได้ก๊าซชีวภาพนำไปผลิตไฟฟ้าทดแทนก๊าซแอลพีจี หรือใช้ประโยชน์อื่นๆ โดยขณะนี้กำลังพิจารณาพื้นที่ชุมชนที่มีศักยภาพ และจะเสนอของบประมาณจากโครงการไทยเข้มแข็ง เพราะโครงการนี้เป็นการสร้างงานในชุมชน