นางธิดารัตน์ กาญจนวัฒน์ ผู้จัดการประจำประเทศของกลุ่มบริษัท อเด็คโก้ประเทศไทย เปิดเผยผลสำรวจของบริษัทอเด็คโก้หัวข้อ "Putting Thailand Back To Work" พบว่าในปี 2553 ตัวเลขอัตราการว่างงานของคนไทยจากประมาณ 2.4% จะกลับไปอยู่ที่ 1.4% ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจภาพรวมที่ดีขึ้นในช่วงปลายไตรมาส 3 จนถึงปี 2553 ทำให้ผู้ประกอบการเริ่มขยับตัวในการจ้างงานเพิ่มขึ้น หลังจากที่ปี 2552 ในบางสายอาชีพมีการจ้างงานในสัดส่วนที่น้อย
นางธิดารัตน์ กล่าวว่า ในปี 2552 ความต้องการตำแหน่งงานด้านพัฒนาซอฟต์แวร์ และผู้เขียนโปรแกรมยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง และบริษัทต่างๆ มีการจ้างบุคลากรลักษณะที่เฉพาะเจาะจงและมีความละเอียดรอบคอบในการจ้างงานมากขึ้น รวมถึงยังคงเน้นเรื่องมาตรการลดต้นทุนต่างๆ อาทิ ต้นทุนด้านบุคลากร เพื่อให้สถานการณ์ของบริษัทผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี
ส่วนแนวโน้มการจ้างงานในปี 2553 ตำแหน่งงานเฉพาะด้าน เช่น วิศวกรสิ่งแวดล้อม คอมพิวเตอร์ และบุคลากรด้านสุขภาพและประกันภัย จะเป็นที่ต้องการมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งงานอื่นๆ ก็คงจะขยับตัวตามเช่นกัน รวมถึงความต้องการแรงงานผู้มีทักษะพิเศษด้านภาษา เช่น ภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น ส่วนคนที่กำลังมองหางานก็เริ่มมีแนวโน้มในการใช้ข้อมูลจากหลายๆ ด้านประกอบการตัดสินใจในการยอมรับงานมากขึ้น เช่น ลักษณะการจ้างงาน และระยะเวลาการจ้างงาน เป็นต้น หากเปรียบเทียบกับสถานการณ์ตลาดแรงงานของประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นฮ่องกง สิงค์โปร์ หรืออินโดนีเซีย ก็มีสถานการณ์ใกล้เคียงกับประเทศไทยเช่นเดียวกัน
นางธิดารัตน์ กล่าวว่า ในปี 2552 ความต้องการตำแหน่งงานด้านพัฒนาซอฟต์แวร์ และผู้เขียนโปรแกรมยังคงสูงอย่างต่อเนื่อง และบริษัทต่างๆ มีการจ้างบุคลากรลักษณะที่เฉพาะเจาะจงและมีความละเอียดรอบคอบในการจ้างงานมากขึ้น รวมถึงยังคงเน้นเรื่องมาตรการลดต้นทุนต่างๆ อาทิ ต้นทุนด้านบุคลากร เพื่อให้สถานการณ์ของบริษัทผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี
ส่วนแนวโน้มการจ้างงานในปี 2553 ตำแหน่งงานเฉพาะด้าน เช่น วิศวกรสิ่งแวดล้อม คอมพิวเตอร์ และบุคลากรด้านสุขภาพและประกันภัย จะเป็นที่ต้องการมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งงานอื่นๆ ก็คงจะขยับตัวตามเช่นกัน รวมถึงความต้องการแรงงานผู้มีทักษะพิเศษด้านภาษา เช่น ภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น ส่วนคนที่กำลังมองหางานก็เริ่มมีแนวโน้มในการใช้ข้อมูลจากหลายๆ ด้านประกอบการตัดสินใจในการยอมรับงานมากขึ้น เช่น ลักษณะการจ้างงาน และระยะเวลาการจ้างงาน เป็นต้น หากเปรียบเทียบกับสถานการณ์ตลาดแรงงานของประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นฮ่องกง สิงค์โปร์ หรืออินโดนีเซีย ก็มีสถานการณ์ใกล้เคียงกับประเทศไทยเช่นเดียวกัน