เจ้าหน้าที่ธนาคารออมสิน สาขานางพญา จ.พิษณุโลก เร่งเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ เพื่อรองรับประชาชนที่จะลงทะเบียนหนี้นอกระบบ และขอเข้าร่วมโครงการแก้ไขหนี้สินภาคประชาชน ที่จะเริ่มพรุ่งนี้ (1 ธ.ค.) เป็นวันแรก ไปจนถึงสิ้นเดือนนี้
ขณะที่ประชาชนบางส่วนยังไม่มั่นใจโครงการ ทำให้ไม่กล้าตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ สอดคล้องกับคณะกรรมการชุมชนบึงสีไฟตอนล่าง อ.เมืองพิจิตร ที่มองว่า แม้จะเห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว แต่อาจดำเนินการผิดพลาดจนเป็นหนี้เสีย เหมือนหลายโครงการที่ผ่านมา
ส่วนที่ จ.กาฬสินธุ์ ระบุว่า มีธนาคารเข้าร่วมโครงการ 2 แห่ง คือ ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส.
ชาวบ้านที่เตรียมเข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ กล่าวว่า อยากให้โครงการดังกล่าวแก้ปัญหาให้กับคนจนที่เป็นหนี้นอกระบบได้อย่างแท้จริง
เช่นเดียวกับ ธ.ก.ส.มหาสารคาม ที่จะเปิดรับลงทะเบียน 13 สาขา ตั้งแต่วันที่ 1-30 ธันวาคม คาดว่า จะมีประชาชนร่วมโครงการกว่า 300,000 คน
ขณะที่ จ.สตูล จะเปิดรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบผ่านทุกสาขาของ ธ.ก.ส.ในพื้นที่ โดยจะคัดกรองลูกหนี้และเข้าสู่ขั้นตอนการเจรจาประนอมหนี้ เพื่อนำลูกหนี้เข้าสู่ระบบ โดยรัฐบาลมีการตั้งคณะกรรมการแก้ไขหนี้สินระดับจังหวัด และระดับอำเภอ พร้อมธนาคารรัฐเป็นผู้เจรจา
ส่วนผู้สร้างข้อมูลเท็จเข้าโครงการ เพื่อหวังเงินกู้ในระบบ รัฐบาลมีระบบการตรวจสอบอย่างเข้มงวด หากพบว่า มีการให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ อาจมีโทษถึงติดคุก ทั้งนี้ คาดว่า ประชาชนจะเข้าร่วมโครงการกว่า 3,000 คน และส่วนใหญ่จะเป็นเกษตรกร
ขณะที่ประชาชนบางส่วนยังไม่มั่นใจโครงการ ทำให้ไม่กล้าตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ สอดคล้องกับคณะกรรมการชุมชนบึงสีไฟตอนล่าง อ.เมืองพิจิตร ที่มองว่า แม้จะเห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว แต่อาจดำเนินการผิดพลาดจนเป็นหนี้เสีย เหมือนหลายโครงการที่ผ่านมา
ส่วนที่ จ.กาฬสินธุ์ ระบุว่า มีธนาคารเข้าร่วมโครงการ 2 แห่ง คือ ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส.
ชาวบ้านที่เตรียมเข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ กล่าวว่า อยากให้โครงการดังกล่าวแก้ปัญหาให้กับคนจนที่เป็นหนี้นอกระบบได้อย่างแท้จริง
เช่นเดียวกับ ธ.ก.ส.มหาสารคาม ที่จะเปิดรับลงทะเบียน 13 สาขา ตั้งแต่วันที่ 1-30 ธันวาคม คาดว่า จะมีประชาชนร่วมโครงการกว่า 300,000 คน
ขณะที่ จ.สตูล จะเปิดรับลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบผ่านทุกสาขาของ ธ.ก.ส.ในพื้นที่ โดยจะคัดกรองลูกหนี้และเข้าสู่ขั้นตอนการเจรจาประนอมหนี้ เพื่อนำลูกหนี้เข้าสู่ระบบ โดยรัฐบาลมีการตั้งคณะกรรมการแก้ไขหนี้สินระดับจังหวัด และระดับอำเภอ พร้อมธนาคารรัฐเป็นผู้เจรจา
ส่วนผู้สร้างข้อมูลเท็จเข้าโครงการ เพื่อหวังเงินกู้ในระบบ รัฐบาลมีระบบการตรวจสอบอย่างเข้มงวด หากพบว่า มีการให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ อาจมีโทษถึงติดคุก ทั้งนี้ คาดว่า ประชาชนจะเข้าร่วมโครงการกว่า 3,000 คน และส่วนใหญ่จะเป็นเกษตรกร