นายแพทย์ชาตรี บานชื่น อธิบดีกรมสุขภาพจิต แถลงข่าวร่วมกับสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และ สสส. ระบุว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 35,700 คน พบว่า ช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ คนไทยมีสุขภาพจิตดีขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 7.4 ยกเว้นคนกรุงเทพฯ ที่พบว่า เสี่ยงมีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่ม โดยจากเดิมร้อยละ 15.5 เป็นร้อยละ 17.5 ทั้งนี้ ภาพรวมพบว่า เพศชายยังมีสุขภาพจิตดีกว่าเพศหญิง กลุ่มวัยรุ่นอายุ 15.24 ปี เสี่ยงมีปัญหาสุขภาพจิตมากที่สุด ส่วนกลุ่มที่มีสุขภาพจิตดีที่สุด คือ อายุ 40-59 ปี
นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มคนอายุ 60 ปีขึ้นไป มีสุขภาพจิตดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว ซึ่งส่วนหนึ่งคาดว่า มาจากนโยบายให้เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และผู้พิการ
จากผลการสำรวจนี้ ทำให้เห็นว่า แม้จะมีปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจและการเมือง แต่สังคมยังมีวิธีดูแลสุขภาพจิตของประชาชนให้ดีได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาหนี้สินนอกระบบ ที่พบว่าเป็นปัญหาบั่นทอนสุขภาพจิตอย่างมาก
นอกจากนี้ ยังพบว่า กลุ่มคนอายุ 60 ปีขึ้นไป มีสุขภาพจิตดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว ซึ่งส่วนหนึ่งคาดว่า มาจากนโยบายให้เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และผู้พิการ
จากผลการสำรวจนี้ ทำให้เห็นว่า แม้จะมีปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจและการเมือง แต่สังคมยังมีวิธีดูแลสุขภาพจิตของประชาชนให้ดีได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัญหาหนี้สินนอกระบบ ที่พบว่าเป็นปัญหาบั่นทอนสุขภาพจิตอย่างมาก