นายไพบูลย์ พลสุวรรณา รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร กล่าวว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ผู้ผลิตสินค้าอาหารส่งออกของไทยปรับตัว โดยหันมาผลิตสินค้าพร้อมบริโภค โดยมีสัดส่วนคิดเป็นกว่าร้อยละ 52 ของการส่งออกสินค้าอาหารในภาพรวม ซึ่งปีนี้คาดว่า จะมียอดส่งออกประมาณ 720,000 ล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 7 โดยปี 2551 อยู่ที่ 770,000 ล้านบาท
สำหรับการปรับเปลี่ยนแนวทางการผลิตสินค้าดังกล่าว นับว่าเดินถูกทางแล้ว โดยปัจจุบันไทยส่งออกสินค้าอาหารอันดับ 7 ของโลก มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 2.4 ของการบริโภคทั่วโลก ขณะที่จีนอยู่อันดับ 4 ตลาดหลักยังคงเป็นยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐฯ อาเซียน และอื่นๆ ซึ่งสินค้าอาหารของไทยจะต้องมีการพัฒนาคุณภาพให้ได้มาตรฐาน ทุกขั้นตอนต้องตรวจสอบย้อนกลับได้ สอดคล้องกับพฤติกรรมของบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปบริโภคสินค้าที่มีความปลอดภัย ซึ่งเรื่องนี้ในยุโรปและสหรัฐฯ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯได้มีการจัดการความเสี่ยงสินค้าอาหาร โดยออกตรวจสอบสินค้าทุกชนิด ทั้งนำเข้าและจำหน่ายในประเทศ เมื่อตรวจพบการตกค้าง หรือปนเปื้อน ก็จะถูกถอนให้ออกจากตลาด ทางไทยก็เริ่มมีแนวทางปฏิบัติเช่นเดียวกับสหรัฐฯ ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยหากต้องการส่งออกมากขึ้น ต้องสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค
นายไพบูลย์ กล่าวอีกว่า สำหรับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่หัวหินนั้น คาดว่า เมื่อเสร็จสิ้นการประชุม จีนจะกลายเป็นตลาดที่เป็นความหวังในการส่งออกสินค้าอาหาร เพราะจีนผลิตไม่เพียงพอกับการบริโภคในประเทศ ขณะที่อินเดีย ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค จึงต้องการสินค้าอาหารนำเข้าเพิ่มขึ้น
สำหรับการปรับเปลี่ยนแนวทางการผลิตสินค้าดังกล่าว นับว่าเดินถูกทางแล้ว โดยปัจจุบันไทยส่งออกสินค้าอาหารอันดับ 7 ของโลก มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 2.4 ของการบริโภคทั่วโลก ขณะที่จีนอยู่อันดับ 4 ตลาดหลักยังคงเป็นยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐฯ อาเซียน และอื่นๆ ซึ่งสินค้าอาหารของไทยจะต้องมีการพัฒนาคุณภาพให้ได้มาตรฐาน ทุกขั้นตอนต้องตรวจสอบย้อนกลับได้ สอดคล้องกับพฤติกรรมของบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปบริโภคสินค้าที่มีความปลอดภัย ซึ่งเรื่องนี้ในยุโรปและสหรัฐฯ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯได้มีการจัดการความเสี่ยงสินค้าอาหาร โดยออกตรวจสอบสินค้าทุกชนิด ทั้งนำเข้าและจำหน่ายในประเทศ เมื่อตรวจพบการตกค้าง หรือปนเปื้อน ก็จะถูกถอนให้ออกจากตลาด ทางไทยก็เริ่มมีแนวทางปฏิบัติเช่นเดียวกับสหรัฐฯ ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยหากต้องการส่งออกมากขึ้น ต้องสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค
นายไพบูลย์ กล่าวอีกว่า สำหรับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่หัวหินนั้น คาดว่า เมื่อเสร็จสิ้นการประชุม จีนจะกลายเป็นตลาดที่เป็นความหวังในการส่งออกสินค้าอาหาร เพราะจีนผลิตไม่เพียงพอกับการบริโภคในประเทศ ขณะที่อินเดีย ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค จึงต้องการสินค้าอาหารนำเข้าเพิ่มขึ้น