นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง ปัญหาอธิปไตยดินแดนพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ที่จัดขึ้นโดย นิด้า สมัชชาประชาธิปไตย โดยย้ำถึงนโยบายด้านการต่างประเทศของรัฐบาลได้ประกาศไว้ชัดเจน ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ที่จะดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน และส่งเสริมความความร่วมมือในกรอบต่างๆ ทั้งทวิภาคี ระดับภูมิภาคและพหุภาคี
ส่วนในประเด็นไทย-กัมพูชากรณีปราสาทพระวิหาร ผู้นำทั้งสองประเทศได้ตกลงกันชัดเจน ว่าจะไม่ให้ปัญหาหนึ่งไปกระทบหรือเป็นอุปสรรคต่อความสัมพันธ์ในด้านอื่นๆ และจะใช้วิธีการเจรจาโดยสันติวิธี ซึ่งยืนยันว่าการดำเนินการต่างๆ ที่ผ่านมา ได้กระทำอย่างโปร่งใส ผ่านกลไกการเจรจาทวิภาคี ในกรอบกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา หรือ เจบีซี ซึ่งผลการเจรจาทั้ง 3 ครั้ง อยู่ระหว่างรอการเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร เพื่อนำไปสู่การเดินหน้าเจรจาในครั้งต่อไป ทั้งนี้ยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่มีการสูญเสียอธิปไตย และบริเวณพื้นที่ทับซ้อนร้อยละ 80-90 ไทยยังครอบครองอยู่และมีทหารประจำการอยู่ทุกจุด เว้นเพียงบริเวณชะง่อนผา ซึ่งเป็นจุดอ่อนไหว ส่วนการปลูกสิ่งก่อสร้างรุกล้ำพื้นที่ทับซ้อนนั้น ได้มีการประท้วงมาโดยตลอด ทั้งทางวาจาและทางหนังสือ ดังนั้น ตามหลักสากล จึงถือว่ายังไม่มีใครได้หรือเสีย จนกว่าจะมีการเจรจาจัดทำเขตแดนแล้วเสร็จ ซึ่งต้องใช้เวลา ขอให้ทุกฝ่ายใจเย็นอดทนรอ
ส่วนพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลนั้น ยังอยู่ระหว่างยกร่างกรอบการเจรจาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความเห็นชอบต่อสภา ส่วนการให้สัมปทานกับบริษัทเอกชน ขณะนี้ได้มีการดำเนินการทั้งของฝ่ายไทยและกัมพูชา แต่ยังไม่มีใครสามารถดำเนินการได้ จนกว่าการเจรจาจะแล้วเสร็จ และยืนยันว่า พื้นที่เกาะกูด เป็นดินแดนของไทย โดยมีเอกสารระบุในสนธิสัญญาชัดเจน
นายกษิต ยังกล่าวถึงเหตุความไม่เข้าใจที่ยังเกิดขึ้นตลอดเวลา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสื่อมวลชนไม่เปิดพื้นที่ในการเสนอข่าวเท่าที่ควร ส่วนเรื่องที่กัมพูชาเปิดเผยผ่านสื่อต่างประเทศ เข้าใจว่า เป็นเรื่องของการเมืองภายในประเทศกัมพูชา ซึ่งไทยไม่จำเป็นต้องชี้แจง หรือตอบโต้ เพราะไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอธิปไตยของไทย
ส่วนในประเด็นไทย-กัมพูชากรณีปราสาทพระวิหาร ผู้นำทั้งสองประเทศได้ตกลงกันชัดเจน ว่าจะไม่ให้ปัญหาหนึ่งไปกระทบหรือเป็นอุปสรรคต่อความสัมพันธ์ในด้านอื่นๆ และจะใช้วิธีการเจรจาโดยสันติวิธี ซึ่งยืนยันว่าการดำเนินการต่างๆ ที่ผ่านมา ได้กระทำอย่างโปร่งใส ผ่านกลไกการเจรจาทวิภาคี ในกรอบกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา หรือ เจบีซี ซึ่งผลการเจรจาทั้ง 3 ครั้ง อยู่ระหว่างรอการเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร เพื่อนำไปสู่การเดินหน้าเจรจาในครั้งต่อไป ทั้งนี้ยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่มีการสูญเสียอธิปไตย และบริเวณพื้นที่ทับซ้อนร้อยละ 80-90 ไทยยังครอบครองอยู่และมีทหารประจำการอยู่ทุกจุด เว้นเพียงบริเวณชะง่อนผา ซึ่งเป็นจุดอ่อนไหว ส่วนการปลูกสิ่งก่อสร้างรุกล้ำพื้นที่ทับซ้อนนั้น ได้มีการประท้วงมาโดยตลอด ทั้งทางวาจาและทางหนังสือ ดังนั้น ตามหลักสากล จึงถือว่ายังไม่มีใครได้หรือเสีย จนกว่าจะมีการเจรจาจัดทำเขตแดนแล้วเสร็จ ซึ่งต้องใช้เวลา ขอให้ทุกฝ่ายใจเย็นอดทนรอ
ส่วนพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลนั้น ยังอยู่ระหว่างยกร่างกรอบการเจรจาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความเห็นชอบต่อสภา ส่วนการให้สัมปทานกับบริษัทเอกชน ขณะนี้ได้มีการดำเนินการทั้งของฝ่ายไทยและกัมพูชา แต่ยังไม่มีใครสามารถดำเนินการได้ จนกว่าการเจรจาจะแล้วเสร็จ และยืนยันว่า พื้นที่เกาะกูด เป็นดินแดนของไทย โดยมีเอกสารระบุในสนธิสัญญาชัดเจน
นายกษิต ยังกล่าวถึงเหตุความไม่เข้าใจที่ยังเกิดขึ้นตลอดเวลา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสื่อมวลชนไม่เปิดพื้นที่ในการเสนอข่าวเท่าที่ควร ส่วนเรื่องที่กัมพูชาเปิดเผยผ่านสื่อต่างประเทศ เข้าใจว่า เป็นเรื่องของการเมืองภายในประเทศกัมพูชา ซึ่งไทยไม่จำเป็นต้องชี้แจง หรือตอบโต้ เพราะไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอธิปไตยของไทย