โครงการปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ ร่วมกับสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ จัดประชุมวิชาการเรื่อง "ดุลยภาพของสถาบันกับการพัฒนาประชาธิปไตย" โดยมี รศ.ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กล่าวปาฐกถาเรื่อง "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ กับการเพิ่มความสมดุลในการพัฒนา"
รศ.ดร.จิรายุ กล่าวว่า 63 ปี ของการพัฒนาประเทศไทย นับตั้งแต่ พ.ศ.2589-2552 ดูเหมือนว่าประเทศไทยจะมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอย่างดี มีการปรับโครงสร้างการผลิต มีความเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น ซึ่งสินค้าอุตสาหกรรม เป็นสินค้าที่มีทักษะการผลิตสูง อีกทั้งยังมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง รวมทั้งผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศไทยที่ขยายเพิ่มสูงขึ้น จำนวนประชากรเพิ่มขึ้น 3.69 เท่า จากจำนวน 17 ล้านคนเพิ่มเป็น 63 ล้านคน แต่ภายใต้การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และสังคมนั้น ยังมีความไม่สมดุลในหลายมิติ
รศ.ดร.จิรายุ กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ของนักวิชาการหลายแขนง พบความไม่สมดุลที่เกิดขึ้น คือความไม่สมดุลด้านกระจายรายได้ การใช้และการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาเมืองและชนบท และความไม่สมดุลด้านค่านิยมและศีลธรรมที่เสื่อมลง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพยายามแก้ไขความไม่สมดุลเหล่านี้ โดยมีผลสำเร็จพอสมควรเมื่อเทียบกับความยาก และระดับของปัญหาที่ทรงเผชิญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีบทบาทที่สำคัญคือ พระราชทานคำปรึกษา ทรงสนับสนุน และทรงตักเตือนผ่านพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาท ซึ่งได้ทรงเตือนล่วงหน้าถึงความไม่สมดุลของโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมไทย ตลอดจนทรงริเริ่มแนวทางการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมผ่านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ถึงกว่า 4,000 โครงการ ที่อยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ
รศ.ดร.จิรายุ กล่าวว่า 63 ปี ของการพัฒนาประเทศไทย นับตั้งแต่ พ.ศ.2589-2552 ดูเหมือนว่าประเทศไทยจะมีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นอย่างดี มีการปรับโครงสร้างการผลิต มีความเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น ซึ่งสินค้าอุตสาหกรรม เป็นสินค้าที่มีทักษะการผลิตสูง อีกทั้งยังมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง รวมทั้งผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศไทยที่ขยายเพิ่มสูงขึ้น จำนวนประชากรเพิ่มขึ้น 3.69 เท่า จากจำนวน 17 ล้านคนเพิ่มเป็น 63 ล้านคน แต่ภายใต้การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และสังคมนั้น ยังมีความไม่สมดุลในหลายมิติ
รศ.ดร.จิรายุ กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ของนักวิชาการหลายแขนง พบความไม่สมดุลที่เกิดขึ้น คือความไม่สมดุลด้านกระจายรายได้ การใช้และการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาเมืองและชนบท และความไม่สมดุลด้านค่านิยมและศีลธรรมที่เสื่อมลง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพยายามแก้ไขความไม่สมดุลเหล่านี้ โดยมีผลสำเร็จพอสมควรเมื่อเทียบกับความยาก และระดับของปัญหาที่ทรงเผชิญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีบทบาทที่สำคัญคือ พระราชทานคำปรึกษา ทรงสนับสนุน และทรงตักเตือนผ่านพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาท ซึ่งได้ทรงเตือนล่วงหน้าถึงความไม่สมดุลของโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมไทย ตลอดจนทรงริเริ่มแนวทางการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมผ่านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ถึงกว่า 4,000 โครงการ ที่อยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ