นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย นายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน พรรคเพื่อไทย ได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อขอให้ตรวจสอบและส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 (7) เพราะอาจเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 267 ประกอบมาตรา 265 (2) (3) ที่ห้ามมิให้รัฐมนตรีเข้าไปเป็นคู่สัญญากับรัฐหรือเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่เป็นคู่สัญญากับรัฐอันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนและไม่รับประโยชน์ใด ๆ ในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งได้ห้ามไปถึงคู่สมรสและบุตรของรัฐมนตรีด้วย
ทั้งนี้ ในหนังสือคำร้องระบุว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล บุตรชาย นางสนองนุช ชาญวีรกูล ภรรยานายอนุทิน และ น.ส.อนิลรัตน์ ชาญวีรกูล บุตรสาว ทั้ง 3 ได้เข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพัน ในบริษัท ชิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) โดยหุ้นดังกล่าวเป็นหุ้นสามัญที่มีการออกใบหุ้น นอกจากนี้นางทัศนีย์ ชาญวีรกูล ภรรยานายชวรัตน์ เพิ่งลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการของบริษัทเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2551 อย่างไรก็ตาม บริษัทชิโน-ไทย ได้เข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐหลายโครงการในระหว่างที่นายชวรัตน์ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดังนั้นจึงขอให้ตรวจสอบความเป็นรัฐมนตรีของนายชวรัตน์สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามมาตรา 182 (7)
นายสงวน กล่าวว่า แม้ว่าบุตรของนายชวรัตน์จะบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เรื่องนี้นายชวรัตน์คงสับสน เพราะไม่ใช่เรื่องของกฎหมายการแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน แต่เป็นเรื่องของกฎหมายคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่ได้ระบุเรื่องการบรรลุนิติภาวะไว้ นอกจากนี้นายชวรัตน์ได้มีการโอนหุ้นให้กับบริษัทอื่นเข้ามาบริหารแล้ว แต่บริษัทดังกล่าวต้องไม่เป็นคู่สัญญากับรัฐ
ทั้งนี้ ในหนังสือคำร้องระบุว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล บุตรชาย นางสนองนุช ชาญวีรกูล ภรรยานายอนุทิน และ น.ส.อนิลรัตน์ ชาญวีรกูล บุตรสาว ทั้ง 3 ได้เข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพัน ในบริษัท ชิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) โดยหุ้นดังกล่าวเป็นหุ้นสามัญที่มีการออกใบหุ้น นอกจากนี้นางทัศนีย์ ชาญวีรกูล ภรรยานายชวรัตน์ เพิ่งลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการของบริษัทเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2551 อย่างไรก็ตาม บริษัทชิโน-ไทย ได้เข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐหลายโครงการในระหว่างที่นายชวรัตน์ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ดังนั้นจึงขอให้ตรวจสอบความเป็นรัฐมนตรีของนายชวรัตน์สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามมาตรา 182 (7)
นายสงวน กล่าวว่า แม้ว่าบุตรของนายชวรัตน์จะบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เรื่องนี้นายชวรัตน์คงสับสน เพราะไม่ใช่เรื่องของกฎหมายการแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน แต่เป็นเรื่องของกฎหมายคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่ได้ระบุเรื่องการบรรลุนิติภาวะไว้ นอกจากนี้นายชวรัตน์ได้มีการโอนหุ้นให้กับบริษัทอื่นเข้ามาบริหารแล้ว แต่บริษัทดังกล่าวต้องไม่เป็นคู่สัญญากับรัฐ