วันนี้(31 ส.ค.) เวลา 19.26 น.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จออกพระตำหนักเปี่ยมสุขวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี และประธานกรรมการพัฒนา และรณรงค์การใช้หญ้าแฝก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ นำคณะผู้ปฏิบัติงานโครงการพัฒนา และรณรงค์การใช้หญ้าแฝก อันเนื่องมาจากพระราชดำริเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบบังคมทูลรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ และรับพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการ
ธนาคารโลกได้ส่งเสริมเรื่องการใช้หญ้าแฝกเป็นพืชเพื่อป้องกันการชะล้างของหน้าดิน ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ หญ้าแฝกมีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการอนุรักษ์ดิน และน้ำ โดยการปลูกเป็นแนวรั้วกั้นตามแนวระดับ และได้มีการศึกษาทดลองใช้อย่างได้ผลดี ในประเทศแถบเอเชียหลายประเทศ
สำหรับประเทศไทยได้มีการศึกษารวบรวมเรื่องการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก ในระยะแรกบ้างบางส่วน จนกระทั่งเมื่อปี 2534 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงศึกษาเรื่องการใช้หญ้าแฝก ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และได้พระราชทานพระราชดำริ ให้ดำเนินงานเกี่ยวกับหญ้าแฝกเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2534 ให้ศึกษาทดลองปลูกหญ้าแฝก เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน ในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตลอดจนพื้นที่อื่น โดยให้พิจารณาการปลูกตามความเหมาะสมของภูมิประเทศ และเก็บรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับผลการศึกษาทดลองให้ครอบคลุมทุกด้านด้วย
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมในโอกาสต่างๆ อย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน มากกว่า 50 หน่วยงาน ดำเนินงานสนองพระราชดำริในการพัฒนา และการณรงค์การใช้หญ้าแฝก ส่งผลให้การดำเนินงานก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ
จากการทรงงานดังกล่าว สถาบันอินเตอร์เนชั่นแนล อีโรชั่น คอนโทรล แอสโซซิเอชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล เมอร์ริท อวอร์ด (***)ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลเกี่ยวกับการอนุรักษ์ดิน และน้ำ ในฐานะที่ทรงเป็นแบบอย่างในการนำหญ้าแฝกมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2536 และธนาคารโลกได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรากหญ้าแฝกชุบสัมฤทธิ์ ซึ่งเป็นรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณ ในฐานะที่ทรงมุ่งมั่นในการพัฒนา และส่งเสริมการใช้หญ้าแฝก ในการอนุรักษ์ดินและน้ำเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2536
ธนาคารโลกได้ส่งเสริมเรื่องการใช้หญ้าแฝกเป็นพืชเพื่อป้องกันการชะล้างของหน้าดิน ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ หญ้าแฝกมีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการอนุรักษ์ดิน และน้ำ โดยการปลูกเป็นแนวรั้วกั้นตามแนวระดับ และได้มีการศึกษาทดลองใช้อย่างได้ผลดี ในประเทศแถบเอเชียหลายประเทศ
สำหรับประเทศไทยได้มีการศึกษารวบรวมเรื่องการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก ในระยะแรกบ้างบางส่วน จนกระทั่งเมื่อปี 2534 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงศึกษาเรื่องการใช้หญ้าแฝก ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และได้พระราชทานพระราชดำริ ให้ดำเนินงานเกี่ยวกับหญ้าแฝกเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2534 ให้ศึกษาทดลองปลูกหญ้าแฝก เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน ในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตลอดจนพื้นที่อื่น โดยให้พิจารณาการปลูกตามความเหมาะสมของภูมิประเทศ และเก็บรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับผลการศึกษาทดลองให้ครอบคลุมทุกด้านด้วย
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมในโอกาสต่างๆ อย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน มากกว่า 50 หน่วยงาน ดำเนินงานสนองพระราชดำริในการพัฒนา และการณรงค์การใช้หญ้าแฝก ส่งผลให้การดำเนินงานก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ
จากการทรงงานดังกล่าว สถาบันอินเตอร์เนชั่นแนล อีโรชั่น คอนโทรล แอสโซซิเอชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล เมอร์ริท อวอร์ด (***)ได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลเกี่ยวกับการอนุรักษ์ดิน และน้ำ ในฐานะที่ทรงเป็นแบบอย่างในการนำหญ้าแฝกมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2536 และธนาคารโลกได้ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรากหญ้าแฝกชุบสัมฤทธิ์ ซึ่งเป็นรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณ ในฐานะที่ทรงมุ่งมั่นในการพัฒนา และส่งเสริมการใช้หญ้าแฝก ในการอนุรักษ์ดินและน้ำเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2536