นายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจแรงงานสัมพันธ์(ครส.) แถลงว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้จ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวให้แก่พนักงานและลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ 7 แห่ง ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) องค์การเภสัชกรรม (อภ.) การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทร.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ที่มีเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท โดยได้รับในอัตราเดือนละ 2,000 บาท ซึ่งเมื่อรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างแล้วต้องได้รับไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน และให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเป็นต้นไป โดยให้ใช้เงินงบประมาณของรัฐวิสาหกิจและให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งในการพิจารณาภายใต้กรอบดังกล่าวที่กำหนดตามมาตรา 13 (2) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543
นายไพฑูรย์ กล่าวต่อว่า สำหรับการจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวดังกล่าวมีลักษณะการจ่ายเป็นการชั่วคราวไม่ถือเป็นค่าจ้างและไม่เป็นฐานในการคำนวณสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ แก่พนักงานและลูกจ้าง สำหรับประเด็นที่เป็นปัญหาในทางปฏิบัติเรื่องการจ่ายให้หารือเลขาธิการ ครม. เมื่อได้ผลอย่างไรให้ถือเป็นแนวปฏิบัติ และเมื่อ ครม.มีมติเห็นชอบกำหนดเป็นกรอบตามมาตรา 13 (2) แล้ว ให้ถือปฏิบัติตามมติ ครม.
นายไพฑูรย์ กล่าวต่อว่า สำหรับการจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวดังกล่าวมีลักษณะการจ่ายเป็นการชั่วคราวไม่ถือเป็นค่าจ้างและไม่เป็นฐานในการคำนวณสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ แก่พนักงานและลูกจ้าง สำหรับประเด็นที่เป็นปัญหาในทางปฏิบัติเรื่องการจ่ายให้หารือเลขาธิการ ครม. เมื่อได้ผลอย่างไรให้ถือเป็นแนวปฏิบัติ และเมื่อ ครม.มีมติเห็นชอบกำหนดเป็นกรอบตามมาตรา 13 (2) แล้ว ให้ถือปฏิบัติตามมติ ครม.