นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลการศึกษาผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อเอสเอ็มอีและภาคครัวเรือน โดยทำการศึกษาจาก 12 อุตสาหกรรม พบว่าการลดภาษีเป็นร้อยละ 0 ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่เริ่มตั้งแต่ปี 2553-2558 มีผลกระทบเชิงลบต่อบางอุตสาหกรรม ทำให้อยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง เช่น อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องนุ่งห่ม เคมีภัณฑ์ยางพลาสติก ไม้ ปิโตรเลียม เหล็ก และเหมืองแร่
นายอัทธ์ กล่าวว่า เมื่อมีการเปิดเสรีอุตสาหกรรมเหล่านี้จะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ลดลง และจะต้องเผชิญกับการแข่งขันจากประเทศคู่แข่ง ทำให้ดุลการค้าขาดดุล เพราะจะมีการนำเข้ามากกว่าส่งออก ขณะที่บางกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์ เกษตรแปรรูป และปศุสัตว์ ประมง จะได้รับผลดี อัตราการขยายตัวจะเพิ่มขึ้นมีโอกาสเกินดุลการค้า โดยประเมินว่าจีดีพีของเอสเอ็มอีตั้งแต่ปี 2553-2558 เพิ่มขึ้น 32,381 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 หรือปีละ 5,397 ล้านบาท การส่งออกเพิ่มขึ้น 35,913 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 เฉลี่ยปีละ 2,993 ล้านบาท นำเข้าเพิ่มขึ้น 38,035 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.9 เพิ่มขึ้นปีละ 6,339 ล้านบาท โดยรวมเอสเอ็มอีจะขาดดุล 923 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.5 เฉลี่ยปีละ 154 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.25 ต่อปี ส่วนผลกระทบภาคครัวเรือน พบว่าครัวเรือนนอกภาคการเกษตรจะได้รับผลดีจากการเปิดเสรี โดยมีรายได้เพิ่มขึ้น 3,380 บาทต่อปี ครัวเรือนภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 1,428 บาทต่อปี
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องระวังคือการเปิดเสรีภาคบริการใน 5 ธุรกิจที่จะเริ่มต้นในปี 2553 ที่จะให้นักลงทุนอาเซียนเข้ามาถือหุ้นในธุรกิจไทยได้ถึงร้อยละ 70 คือ กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการบิน ไอที สุขภาพ และลอจิสติกส์ ซึ่งมีถึง 205 ธุรกิจที่อาจจะยังไม่มีความพร้อมหรือมียุทธศาสตร์ตั้งรับการเข้ามาถือหุ้นของต่างชาติ พร้อมกันนี้ยังเสนอแนะรัฐบาลให้เตรียมความพร้อมรับมือต่อการเปิดเสรี โดยพยายามให้ความรู้ความเข้าใจสร้างยุทธศาสตร์ทั้งรุกและรับ รวมทั้งผลักดันการค้าตามแนวชายแดนให้มีประสิทธิภาพ เช่น จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ นิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น
นายอัทธ์ กล่าวว่า เมื่อมีการเปิดเสรีอุตสาหกรรมเหล่านี้จะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ลดลง และจะต้องเผชิญกับการแข่งขันจากประเทศคู่แข่ง ทำให้ดุลการค้าขาดดุล เพราะจะมีการนำเข้ามากกว่าส่งออก ขณะที่บางกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์ เกษตรแปรรูป และปศุสัตว์ ประมง จะได้รับผลดี อัตราการขยายตัวจะเพิ่มขึ้นมีโอกาสเกินดุลการค้า โดยประเมินว่าจีดีพีของเอสเอ็มอีตั้งแต่ปี 2553-2558 เพิ่มขึ้น 32,381 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 หรือปีละ 5,397 ล้านบาท การส่งออกเพิ่มขึ้น 35,913 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 เฉลี่ยปีละ 2,993 ล้านบาท นำเข้าเพิ่มขึ้น 38,035 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.9 เพิ่มขึ้นปีละ 6,339 ล้านบาท โดยรวมเอสเอ็มอีจะขาดดุล 923 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.5 เฉลี่ยปีละ 154 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.25 ต่อปี ส่วนผลกระทบภาคครัวเรือน พบว่าครัวเรือนนอกภาคการเกษตรจะได้รับผลดีจากการเปิดเสรี โดยมีรายได้เพิ่มขึ้น 3,380 บาทต่อปี ครัวเรือนภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นเพียง 1,428 บาทต่อปี
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องระวังคือการเปิดเสรีภาคบริการใน 5 ธุรกิจที่จะเริ่มต้นในปี 2553 ที่จะให้นักลงทุนอาเซียนเข้ามาถือหุ้นในธุรกิจไทยได้ถึงร้อยละ 70 คือ กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการบิน ไอที สุขภาพ และลอจิสติกส์ ซึ่งมีถึง 205 ธุรกิจที่อาจจะยังไม่มีความพร้อมหรือมียุทธศาสตร์ตั้งรับการเข้ามาถือหุ้นของต่างชาติ พร้อมกันนี้ยังเสนอแนะรัฐบาลให้เตรียมความพร้อมรับมือต่อการเปิดเสรี โดยพยายามให้ความรู้ความเข้าใจสร้างยุทธศาสตร์ทั้งรุกและรับ รวมทั้งผลักดันการค้าตามแนวชายแดนให้มีประสิทธิภาพ เช่น จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ นิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น