นายปีเตอร์ โนเอล ชีฟฟิวไบน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอสเซทแพลนเนอร์ จำกัด ในฐานะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการให้กับบริษัท พระราม 3 แลนด์ จำกัด เปิดเผยถึงกรณีที่มีกลุ่มลูกค้าคอนโดเอสวีการ์เด้นมาประท้วงที่บริเวณทำเนียบรัฐบาล ว่า โครงการดังกล่าวเริ่มดำเนินการเมื่อปี 2538 ในนามบริษัท พระราม 3 แลนด์ จำกัด ซึ่งถือหุ้นโดยบริษัท สหวิริยาซี้ตี้ จำกัด (มหาชน) ที่เป็นการร่วมทุนระหว่างนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชาวฮ่องกง และสหวิริยา แต่เมื่อเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจในปี 2540 และปิดสถาบันการเงินทั้ง 56 แห่ง ทำให้โครงการขาดแหล่งเงินทุน ส่งผลให้เกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินอย่างรุนแรง จนเป็นเหตุให้โครงการเกิดความเสียหาย ซึ่งบริษัท พระราม 3 แลนด์ฯ ต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเมื่อปี 2544และตกอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าหนี้ บริษัท แอสเซท แพลนเนอร์ จำกัด เข้ามาเป็นผู้บริหารบริษัท พระราม 3 แลนด์ แทนกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมที่สูญสิ้นอำนาจบริหารไปนับตั้งแต่บริษัท พระราม 3 แลนด์ฯ เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ในปี 2544 โดยเป็นการบริหารภายใต้การควบคุมของเจ้าหนี้รายใหญ่ 2 ราย คือ บสท. ที่เป็นเจ้าหนี้สัดส่วน และบริษัท สหวิริยา ซิตี้ จำกัด (มหาชน) ซึ่ง บมจ.สหวิริยาซิตี้ นี้อยู่ภายใต้กระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้การควบคุมของเจ้าหนี้ ซึ่งมี บสท.เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่เช่นกัน
นายปีเตอร์ กล่าวว่า ในฐานะผู้บริหารแผนฯ ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการดำเนินการเพื่อให้สำเร็จตามแผนฟื้นฟูฯ โดยการสรรหากลุ่มผู้ลงทุนรายใหม่หลายรายเข้ามาดำเนินโครงการตามแผน แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากนักลงทุนเกรงว่าจะไม่ได้รับความร่วมมือจากจากเจ้าหนี้รายใหญ่ ซึ่งแสดงความเห็นในเชิงคัดค้านมาโดยตลอด ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน เหตุที่นักลงทุนให้ความสำคัญต่อเจ้าหนี้รายใหญ่ เนื่องจากตามกฎหมายเจ้าหนี้มีประกันรายใหญ่ จะเป็นผู้มีสิทธิในทรัพย์สินของบริษัท พระราม 3 แลนด์ฯ สูงกว่าเจ้าหนี้อื่น ส่วนท้ายที่สุดเมื่อโครงการไม่สามารถฟื้นฟูกิจการได้สำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด จึงทำให้แผนดังกล่าวสิ้นสุดไป และขณะนี้ได้อยู่ในกระบวนการของพิจารณาของศาลว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
นายปีเตอร์ กล่าวว่า ในฐานะผู้บริหารแผนฯ ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการดำเนินการเพื่อให้สำเร็จตามแผนฟื้นฟูฯ โดยการสรรหากลุ่มผู้ลงทุนรายใหม่หลายรายเข้ามาดำเนินโครงการตามแผน แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากนักลงทุนเกรงว่าจะไม่ได้รับความร่วมมือจากจากเจ้าหนี้รายใหญ่ ซึ่งแสดงความเห็นในเชิงคัดค้านมาโดยตลอด ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน เหตุที่นักลงทุนให้ความสำคัญต่อเจ้าหนี้รายใหญ่ เนื่องจากตามกฎหมายเจ้าหนี้มีประกันรายใหญ่ จะเป็นผู้มีสิทธิในทรัพย์สินของบริษัท พระราม 3 แลนด์ฯ สูงกว่าเจ้าหนี้อื่น ส่วนท้ายที่สุดเมื่อโครงการไม่สามารถฟื้นฟูกิจการได้สำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด จึงทำให้แผนดังกล่าวสิ้นสุดไป และขณะนี้ได้อยู่ในกระบวนการของพิจารณาของศาลว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป