นายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ วิเคราะห์ถึงสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างการประชุม ส.ส.พรรค ว่า รัฐบาลจะประสบปัญหาหนักในหลายประเด็น โดยเฉพาะการที่คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้เสนอรัฐบาลแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือว่า มีหลายประเด็นทำให้เกิดความแตกแยก จึงเป็นเรื่องที่สภาต้องเตรียมรับมือ
นอกจากนี้ ยังต้องรอผลสรุปของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง ที่จะขยายเวลาการสอบออกไปอีก 1 เดือน ส่วนปัญหาเร่งด่วนคือ การสำรวจความเห็นของประชาชนจากสำนักโพลต่างๆ ที่คะแนนนิยมรัฐบาลขณะนี้ ลดลง รวมถึงการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่จะถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาจนำไปสู่ความขัดแย้งเพิ่มขึ้น
นายปกรณ์ ปรียากรณ์ อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 กล่าวว่า ผลงานของรัฐบาลด้านการเมืองที่ผ่านมา ที่เป็นรูปธรรม คือการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ แต่ยังมีชนวนความขัดแย้งที่จะมีขึ้นในอนาคต คือข้อสรุปที่ต้องการให้แก้ไขรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็น โดยรัฐบาลต้องรอจังหวะและเวลาในการพิจารณา ไม่เช่นนั้น จะยิ่งทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นจากประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ขณะที่ นายดิเรก ถึงฝั่ง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์ ขอให้นายกรัฐมนตรี นำข้อเสนอแนะของคณะกรรมการไปดำเนินการให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพราะที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรียังมีท่าทีนิ่งเฉย ไม่ได้นำข้อเสนอของคณะกรรมการไปปฏิบัติอย่างจริงจัง
นอกจากนี้ ยังต้องรอผลสรุปของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง ที่จะขยายเวลาการสอบออกไปอีก 1 เดือน ส่วนปัญหาเร่งด่วนคือ การสำรวจความเห็นของประชาชนจากสำนักโพลต่างๆ ที่คะแนนนิยมรัฐบาลขณะนี้ ลดลง รวมถึงการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่จะถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาจนำไปสู่ความขัดแย้งเพิ่มขึ้น
นายปกรณ์ ปรียากรณ์ อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 กล่าวว่า ผลงานของรัฐบาลด้านการเมืองที่ผ่านมา ที่เป็นรูปธรรม คือการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ แต่ยังมีชนวนความขัดแย้งที่จะมีขึ้นในอนาคต คือข้อสรุปที่ต้องการให้แก้ไขรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็น โดยรัฐบาลต้องรอจังหวะและเวลาในการพิจารณา ไม่เช่นนั้น จะยิ่งทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นจากประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ขณะที่ นายดิเรก ถึงฝั่ง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์ ขอให้นายกรัฐมนตรี นำข้อเสนอแนะของคณะกรรมการไปดำเนินการให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพราะที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรียังมีท่าทีนิ่งเฉย ไม่ได้นำข้อเสนอของคณะกรรมการไปปฏิบัติอย่างจริงจัง