สัตวแพทย์ต้องตัดชิ้นเนื้อตาย บริเวณขาหน้าด้านซ้ายของพังกำไล ก่อนทำความสะอาดบาดแผลที่เกิดจากการกดทับ พบว่า พังกำไลมีแผลตามลำตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องนอนเป็นเวลานาน ประกอบกับขาขวาด้านหน้าที่หักกระดูกยังเชื่อมต่อไม่สมบูรณ์ ทำให้พังกำไลไม่สามารถพยุงตัวได้
สัตวแพทย์ เปิดเผยว่า ยังคงต้องดูอาการพังกำไลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากบาดแผลตามลำตัว โดยแพทย์รักษาอาการด้วยการล้างแผลวันละ 2 ครั้ง ให้เกลือแร่ วิตามิน และอาหารเสริมเพื่อบำรุงร่างกายอย่างต่อเนื่อง เพราะพังกำไลกินอาหารได้น้อย ทำให้น้ำหนักตัวลด สำหรับอาการโดยรวมยังคงทรงตัว มีการตอบสนองดี
สัตวแพทย์ เปิดเผยว่า ยังคงต้องดูอาการพังกำไลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากบาดแผลตามลำตัว โดยแพทย์รักษาอาการด้วยการล้างแผลวันละ 2 ครั้ง ให้เกลือแร่ วิตามิน และอาหารเสริมเพื่อบำรุงร่างกายอย่างต่อเนื่อง เพราะพังกำไลกินอาหารได้น้อย ทำให้น้ำหนักตัวลด สำหรับอาการโดยรวมยังคงทรงตัว มีการตอบสนองดี