ก่อนหน้าการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือ ARF 1 วัน พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหม จะเป็นประธานประชุมเรื่องความมั่นคงในภูมิภาค ในวันพุธนี้ (22 ก.ค.) ร่วมกับเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงจาก 10 ชาติอาเซียน ประเทศคู่เจรจาของอาเซียน และประเทศผู้สังเกตการณ์รวม 26 ประเทศ ซึ่งจะเป็นการหารือในเรื่องภัยคุกคามรูปแบบใหม่ สำหรับประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงภัยคุกคามจากธรรมชาติ ที่กลายเป็นปัญหาความมั่นคงในภูมิภาค ซึ่งในการประชุมครั้งนี้จะเปิดรับฟังความคิดเห็นถึงแนวคิดและวิธีการแก้ไขปัญหาของภัยคุกคามรูปแบบใหม่
พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า นอกจากเรื่องภัยคุกคามรูปแบบใหม่แล้ว ที่ประชุมจะแลกเปลี่ยนประสบการณ์การต่อต้านการก่อการร้ายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยตัวแทนจากศรีลังกาจะมาพูดคุยถึงการแก้ปัญหากลุ่มแบ่งแยกดินแดนทมิฬอีแลม ตัวแทนจากปากีสถาน และสหรัฐอเมริกา จะพูดถึงปัญหาการก่อการร้ายในปากีสถาน และอิรัก ในขณะที่ตัวแทนจากฟิลิปปินส์จะพูดถึงขบวนการแบ่งแยกดินแดนโมโร ในส่วนของประเทศไทย พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า จะนำเรื่องการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ รวมถึงการใช้แนวทางการพัฒนา ขึ้นพูดคุยกับประเทศสมาชิกให้เข้าใจการแก้ไขปัญหาในพื้นที่
ข้อสรุปที่ได้จากเวทีประชุมในวันพุธ จะถูกนำเข้าที่ประชุมอาเซียนว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือ ARF ในวันพฤหัสบดี ทั้งนี้ ARF ไม่ใช่เวทีสำหรับการเจรจาเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง แต่มุ่งเน้นไปสู่การป้องกันไม่ให้เกิดและขยายความขัดแย้ง
พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า นอกจากเรื่องภัยคุกคามรูปแบบใหม่แล้ว ที่ประชุมจะแลกเปลี่ยนประสบการณ์การต่อต้านการก่อการร้ายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยตัวแทนจากศรีลังกาจะมาพูดคุยถึงการแก้ปัญหากลุ่มแบ่งแยกดินแดนทมิฬอีแลม ตัวแทนจากปากีสถาน และสหรัฐอเมริกา จะพูดถึงปัญหาการก่อการร้ายในปากีสถาน และอิรัก ในขณะที่ตัวแทนจากฟิลิปปินส์จะพูดถึงขบวนการแบ่งแยกดินแดนโมโร ในส่วนของประเทศไทย พล.อ.อภิชาต กล่าวว่า จะนำเรื่องการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ รวมถึงการใช้แนวทางการพัฒนา ขึ้นพูดคุยกับประเทศสมาชิกให้เข้าใจการแก้ไขปัญหาในพื้นที่
ข้อสรุปที่ได้จากเวทีประชุมในวันพุธ จะถูกนำเข้าที่ประชุมอาเซียนว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือ ARF ในวันพฤหัสบดี ทั้งนี้ ARF ไม่ใช่เวทีสำหรับการเจรจาเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง แต่มุ่งเน้นไปสู่การป้องกันไม่ให้เกิดและขยายความขัดแย้ง