นายอภินันท์ จันทรังษี รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า ได้จัดประชุมการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการบรรเทาอุทกภัยและบริหารจัดการน้ำพื้นที่อำเภอบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่หอประชุมอำเภอบางสะพาน โดยมี รศ.ดร.วีระพล แต้สมบัติ หัวหน้าโครงการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานราชการ ผู้นำท้องถิ่น ประชุมร่วมกับแกนนำชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง อาทิ นายวิทูรย์ บัวโรย นายสุพจน์ ส่งเสียง นางจินตนา แก้วขาว พร้อมชาวบ้านประมาณ 200 คน
รศ.ดร.วีระพล กล่าวถึงโครงการนี้ว่า โครงการบรรเทาอุทกภัยฯ ดังกล่าวนี้เกิดจากการที่มีประชาชนชาวบางสะพาน เขียนฎีกาขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในหลวง ดังนั้นในปี 2549 จึงได้มีพระราชดำรัสให้นายดิสธร วัชโรทัย ผู้อำนวยการกองงานส่วนพระองค์ ดำเนินการติดตามงานบรรเทาอุทกภัยและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่อำเภอบางสะพาน โดยวันนี้เป็นการเข้ามารับฟังความคิดเห็นของชาวบ้าน ซึ่งจะต้องมีการศึกษาโครงการอย่างรอบคอบ และเอาความเห็นของคนในพื้นที่เป็นใหญ่ เพราะจากที่ชาวบ้านเสนอมาส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการสร้างเขื่อนและช่องทางระบายน้ำออกจากเขื่อน ซึ่งขณะนี้ได้ตัดช่องทางระบายน้ำทางด้านเหนือไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ยังเหลือช่องทางระบายน้ำอีก 3 ช่องทางซึ่งต้องมาศึกษาและคำนวณว่าจะระบายน้ำใน 3 ช่องทางในปริมาณเท่าไร
นายพงษ์ศักดิ์ บุตรรักษ์ ชาวบ้าน บ้านหนองมงคล ต.ธงชัย กล่าวว่า กรมชลประทาน ไม่มีความจริงใจในการเปิดเผยข้อมูลที่แท้จริงแก่ชาวบ้าน เช่น พื้นที่ที่จะต้องมีการเวนคืนในการสร้างอ่างเก็บน้ำ พื้นที่น้ำท่วมถึง ระดับสันเขื่อน และอ้างว่าเป็นการทำเพื่อการเกษตรแต่จากการตรวจสอบทราบว่าการสร้างอ่างเก็บน้ำต่างๆ เหล่านี้เพื่อที่จะเอื้อประโยชน์แก่อุตสาหกรรมเหล็กในพื้นที่เท่านั้น อีกทั้งบริเวณที่จะสร้างอ่างเก็บน้ำ อยู่ในบริเวณรอยเลื่อนของเปลือกโลกด้วยดังนั้นความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวและเขื่อนอาจจะร้าวหรือแตกในอนาคต
นางสุกัญญา ชมภูวรณ์ ชาวบ้าน ต.ธงชัย กล่าวว่า ตนเป็นชาวบ้านกรูด มีอาชีพค้าขาย เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2548 อ่างเก็บน้ำคลองลอยแตกทำให้น้ำท่วมไปถึงบ้านกรูดร้านค้าได้รับความเสียหาย แต่ได้รับความช่วยเหลือค่าชดเชยเพียง 13,000 บาท ซึ่งหากมีการสร้างเขื่อนใหม่อีกและขนาดใหญ่กว่าเดิมแล้วหากปัญหาเขื่อนแตกชาวบ้านจะอยู่กันอย่างไร
รศ.ดร.วีระพล กล่าวถึงโครงการนี้ว่า โครงการบรรเทาอุทกภัยฯ ดังกล่าวนี้เกิดจากการที่มีประชาชนชาวบางสะพาน เขียนฎีกาขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายในหลวง ดังนั้นในปี 2549 จึงได้มีพระราชดำรัสให้นายดิสธร วัชโรทัย ผู้อำนวยการกองงานส่วนพระองค์ ดำเนินการติดตามงานบรรเทาอุทกภัยและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่อำเภอบางสะพาน โดยวันนี้เป็นการเข้ามารับฟังความคิดเห็นของชาวบ้าน ซึ่งจะต้องมีการศึกษาโครงการอย่างรอบคอบ และเอาความเห็นของคนในพื้นที่เป็นใหญ่ เพราะจากที่ชาวบ้านเสนอมาส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการสร้างเขื่อนและช่องทางระบายน้ำออกจากเขื่อน ซึ่งขณะนี้ได้ตัดช่องทางระบายน้ำทางด้านเหนือไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ยังเหลือช่องทางระบายน้ำอีก 3 ช่องทางซึ่งต้องมาศึกษาและคำนวณว่าจะระบายน้ำใน 3 ช่องทางในปริมาณเท่าไร
นายพงษ์ศักดิ์ บุตรรักษ์ ชาวบ้าน บ้านหนองมงคล ต.ธงชัย กล่าวว่า กรมชลประทาน ไม่มีความจริงใจในการเปิดเผยข้อมูลที่แท้จริงแก่ชาวบ้าน เช่น พื้นที่ที่จะต้องมีการเวนคืนในการสร้างอ่างเก็บน้ำ พื้นที่น้ำท่วมถึง ระดับสันเขื่อน และอ้างว่าเป็นการทำเพื่อการเกษตรแต่จากการตรวจสอบทราบว่าการสร้างอ่างเก็บน้ำต่างๆ เหล่านี้เพื่อที่จะเอื้อประโยชน์แก่อุตสาหกรรมเหล็กในพื้นที่เท่านั้น อีกทั้งบริเวณที่จะสร้างอ่างเก็บน้ำ อยู่ในบริเวณรอยเลื่อนของเปลือกโลกด้วยดังนั้นความเสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวและเขื่อนอาจจะร้าวหรือแตกในอนาคต
นางสุกัญญา ชมภูวรณ์ ชาวบ้าน ต.ธงชัย กล่าวว่า ตนเป็นชาวบ้านกรูด มีอาชีพค้าขาย เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2548 อ่างเก็บน้ำคลองลอยแตกทำให้น้ำท่วมไปถึงบ้านกรูดร้านค้าได้รับความเสียหาย แต่ได้รับความช่วยเหลือค่าชดเชยเพียง 13,000 บาท ซึ่งหากมีการสร้างเขื่อนใหม่อีกและขนาดใหญ่กว่าเดิมแล้วหากปัญหาเขื่อนแตกชาวบ้านจะอยู่กันอย่างไร