กรมราชทัณฑ์ จัดสัมมนาเจ้าหน้าที่และผู้บัญชาการเรือนจำ เรื่อง "แนวทางการป้องกันการใช้โทรศัพท์มือถือและยาเสพติดในเรือนจำของสหรัฐอเมริกา : แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สู่งานราชทัณฑ์ไทย" โดยเชิญ Dr.Jay David Jamieson ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเซาท์เวสต์ เทกซัส สเตท มาบรรยายแนวทางป้องกันการนำโทรศัพท์มือถือและยาเสพติดเข้าในเรือนจำสหรัฐฯ
นายนัทธี จิตสว่าง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า ปัจจุบันรูปแบบการกระทำผิดของผู้ต้องขังเปลี่ยนไปจากเดิม โดยเฉพาะผู้ต้องขังที่เป็นผู้ค้ายาเสพติดรายสำคัญ ซึ่งด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ไม่ว่านักโทษกลุ่มนี้จะอยู่ที่ใดก็ยังสร้างความเดือดร้อนให้กับสังคมภายนอกได้ และมีการลักลอบนำของต้องห้ามเข้าเรือนจำ โดยปัญหาการลักลอบนำโทรศัพท์เข้าเรือนจำและผู้ต้องขังรวมเป็นกลุ่มค้ายาเสพติดและเป็นกลุ่มมีอิทธิพลในเรือนจำ ได้กลายเป็นปัญหาสำคัญของเรือนจำทั่วโลกซึ่งแนวทางของสหรัฐฯ คือ การสร้างเรือนจำความมั่นคงอย่างสูงสุด (Super Maximum Security Prison) ซึ่งจะควบคุมผู้ต้องขังรายสำคัญ ด้วยระบบเทคโนโลยีสูงสุดมีเครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์ มีการแบ่งพื้นที่ควบคุมนักโทษเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มละไม่เกิน 10 คน เพื่อแยกนักโทษระดับพ่อค้ากับซามูไร หรือคนที่ถูกใช้ให้ค้ายาเสพติดออกจากกัน โดยจากข้อมูลพบว่าผู้ต้องขังที่เป็นระดับพ่อค้ายาเสพติด จะไม่ลงมือทำการค้ายาเสพติดเอง เพราะกลัวการถูกยึดทรัพย์ แต่จะใช้ผู้ต้องขังยาเสพติดที่ระดับต่ำกว่าเป็นผู้ปฏิบัติ เมื่อจับได้ก็จะตัดตอนไม่ถึงตัวผู้ค้ารายใหญ่
นายนัทธี กล่าวว่า เรือนจำที่มีปัญหาค้ายาเสพติด และมีแผนในการสร้างเรือนจำความมั่นคงสูง มี 6 แห่ง ได้แก่ เรือนจำกลางเขาบิน เรือนจำกลางคลองเปรม เรือนจำกลางบางขวาง เรือนจำกลางคลองไผ่ เรือนจำกลางระยอง และเรือนจำกลางพิษณุโลก ขณะนี้ได้รับงบประมาณ 200 ล้านบาท นำร่องในการสร้างแดนมั่นคงสูงในเรือนจำกลางเขาบิน ซึ่งจะโยกผู้ต้องขังยาเสพติดรายสำคัญไปคุมขังที่เรือนจำกลางเขาบินประมาณ 1,000 คน โดยจะใช้ระบบขังเดี่ยวเป็นกลุ่มเล็กประมาณ 10 คน และติดตั้งเครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์รวมทั้งแยกระหว่างผู้ต้องขังที่เป็นผู้ค้า กับผู้ต้องขังที่รับจ้างทำงานให้
นายนัทธี จิตสว่าง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า ปัจจุบันรูปแบบการกระทำผิดของผู้ต้องขังเปลี่ยนไปจากเดิม โดยเฉพาะผู้ต้องขังที่เป็นผู้ค้ายาเสพติดรายสำคัญ ซึ่งด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้ไม่ว่านักโทษกลุ่มนี้จะอยู่ที่ใดก็ยังสร้างความเดือดร้อนให้กับสังคมภายนอกได้ และมีการลักลอบนำของต้องห้ามเข้าเรือนจำ โดยปัญหาการลักลอบนำโทรศัพท์เข้าเรือนจำและผู้ต้องขังรวมเป็นกลุ่มค้ายาเสพติดและเป็นกลุ่มมีอิทธิพลในเรือนจำ ได้กลายเป็นปัญหาสำคัญของเรือนจำทั่วโลกซึ่งแนวทางของสหรัฐฯ คือ การสร้างเรือนจำความมั่นคงอย่างสูงสุด (Super Maximum Security Prison) ซึ่งจะควบคุมผู้ต้องขังรายสำคัญ ด้วยระบบเทคโนโลยีสูงสุดมีเครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์ มีการแบ่งพื้นที่ควบคุมนักโทษเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มละไม่เกิน 10 คน เพื่อแยกนักโทษระดับพ่อค้ากับซามูไร หรือคนที่ถูกใช้ให้ค้ายาเสพติดออกจากกัน โดยจากข้อมูลพบว่าผู้ต้องขังที่เป็นระดับพ่อค้ายาเสพติด จะไม่ลงมือทำการค้ายาเสพติดเอง เพราะกลัวการถูกยึดทรัพย์ แต่จะใช้ผู้ต้องขังยาเสพติดที่ระดับต่ำกว่าเป็นผู้ปฏิบัติ เมื่อจับได้ก็จะตัดตอนไม่ถึงตัวผู้ค้ารายใหญ่
นายนัทธี กล่าวว่า เรือนจำที่มีปัญหาค้ายาเสพติด และมีแผนในการสร้างเรือนจำความมั่นคงสูง มี 6 แห่ง ได้แก่ เรือนจำกลางเขาบิน เรือนจำกลางคลองเปรม เรือนจำกลางบางขวาง เรือนจำกลางคลองไผ่ เรือนจำกลางระยอง และเรือนจำกลางพิษณุโลก ขณะนี้ได้รับงบประมาณ 200 ล้านบาท นำร่องในการสร้างแดนมั่นคงสูงในเรือนจำกลางเขาบิน ซึ่งจะโยกผู้ต้องขังยาเสพติดรายสำคัญไปคุมขังที่เรือนจำกลางเขาบินประมาณ 1,000 คน โดยจะใช้ระบบขังเดี่ยวเป็นกลุ่มเล็กประมาณ 10 คน และติดตั้งเครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์รวมทั้งแยกระหว่างผู้ต้องขังที่เป็นผู้ค้า กับผู้ต้องขังที่รับจ้างทำงานให้